วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ลมหายใจเข้าของเรา



รามักคิดว่าเรายั่งยืนกว่าลมหายใจเข้าของเรา
แต่นั่นไม่ใช่ความจริง เราเป็นดั่งลมหายใจของเราเอง
ครั้งหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงถามพระสาวกว่า
ชีวิตมนุษย์นั้นยืนยาวสักเพียงใด ?
สาวกรูปหนึ่งทูลตอบว่า 100 ปี
สาวกอีกรูปหนึ่งทูลตอบว่า 50 ปี
สาวกอีกรูปทูลตอบว่า 1 วันกับอีก 1 คืน
และแล้วสาวกรูปหนึ่งก็ทูลตอบว่า .....
"อายุคนเรานั้นยาวเพียงหนึ่งลมหายใจของเราเอง"
พระพุทธองค์กล่าวกับสาวกรูปนั้นว่า ถูกต้องแล้ว
ท่านได้เห็นความจริงแห่งชีวิตมนุษย์แล้ว ....
ชีวิตคนเรานั้นยืนยาวเพียงแค่หนึ่งลมหายใจเท่านั้น
แท้จริงแล้วอาจสั้นกว่านั้นเสียอีก
เพราะในขณะที่เธอหายใจเข้า เธอได้กลายเป็นคนอีกคนแล้ว
...และ "เธอ" ที่อยู่ที่นั่นก่อนหายใจเข้า
...ก็มิได้เป็น "เธอ" หลังหายใจเข้าอีกต่อไปแล้ว
ถ้าเธอรู้ว่าผู้ที่เข้าพึ่งและสิ่งที่เราเข้าพึ่งนั้น
แท้จริงแล้วคือ "หนึ่งเดียวกัน"
เธอย่อมสามารถเข้าใจถึงเหตุผลเมื่อเรากล่าวว่า ...
ให้เข้าพึ่งลมหายใจเข้าหนึ่ง ลมหายใจของเราเอง ......
ในขณะที่เราหายใจเข้า
เราสามารถอยู่กับลมหายใจเข้าของเรา
เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่อย่างแท้จริง
หากเรารู้วิธีที่จะเข้าพึ่งลมหายใจเข้า
เราย่อมสามารถที่จะเข้าพึ่งลมหายใจออกของเราได้เช่นกัน ...
※ ท่านติช นัท ฮันห์
มหาเถระแห่งพุทธศาสนามหายานนิกายเซ็นชาวเวียดนาม
____________
ที่มา : ZEN

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558



อ่านพระสูตรนี้ทีไรน้ำตาคลอ อีโมติคอน kiki
‪#‎ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ‬
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดี จักได้เห็นรูป ดังนี้
พระองค์ทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยายอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ
ขอพระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก (อุบาสิกา)
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-----------
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้เบียดเบียน
เราจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียน.
เมื่อผู้อื่นกระทำปานาติบาต
เราจักเว้นขาดจากปานาติบาต.
เมื่อผู้อื่นกระทำอทินนาทาน
เราจักเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน.
เมื่อผู้อื่นไม่ประพฤติพรหมจรรย์
เราจักเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์.
เมื่อผู้อื่นพูดเท็จ
เราจักเว้นขาดจากการพูดเท็จ.
เมื่อผู้อื่นพูดส่อเสียด
เราจักเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด.
เมื่อผู้อื่นพูดคำหยาบ
เราจักเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ.
เมื่อผู้อื่นพูดเพ้อเจ้อ
เราจักเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ.
เมื่อผู้อื่นมากด้วยอภิชฌา
เราจักเป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา.
เมื่อผู้อื่นมีจิตพยาบาท
เราจักเป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท.
เมื่อผู้อื่นมีมิจฉาทิฏฐิ
เราจักเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ.
เมื่อผู้อื่นมีมิจฉาสังกัปปะ
เราจักเป็นผู้มีสัมมาสังกัปปะ.
เมื่อผู้อื่นมีมิจฉาวาจา
เราจักเป็นผู้มีสัมมาวาจา.
เมื่อผู้อื่นมีมิจฉากัมมันตะ
เราจักเป็นผู้มีสัมมากัมมันตะ.
เมื่อผู้อื่นมีมิจฉาอาชีวะ
เราจักเป็นผู้มีสัมมาอาชีวะ.
เมื่อผู้อื่นมีมิจฉาวายามะ
เราจักเป็นผู้มีสัมมาวายามะ.
เมื่อผู้อื่นมีมิจฉาสติ
เราจักเป็นผู้มีสัมมาสติ.
เมื่อผู้อื่นมีมิจฉาสมาธิ
เราจักเป็นผู้มีสัมมาสมาธิ.
เมื่อผู้อื่นมีมิจฉาญาณะ
เราจักเป็นผู้มีสัมมาญาณะ.
เมื่อผู้อื่นมีมิจฉาวิมุตติ
เราจักเป็นผู้มีสัมมาวิมุตติ.
เมื่อผู้อื่นมีถีนะมิทธะกลุ้มรุม
เราจักเป็นผู้ปราศจากถีนะมิทธะ.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ฟุ้งซ่าน
เราจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.
เมื่อผู้อื่นมีวิจิกิจฉา
เราจักเป็นผู้ข้ามพ้นวิจิกิจฉา.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้มักโกรธ
เราจักเป็นผู้ไม่มักโกรธ.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ผูกโกรธ
เราจักเป็นผู้ไม่ผูกโกรธ.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ลบหลู่คุณ
เราจักเป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณ.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้แข่งดี
เราจักเป็นผู้ไม่แข่งดี.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ริษยา
เราจักเป็นผู้ไม่ริษยา.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ตระหนี่
เราจักเป็นผู้ไม่ตระหนี่.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้โอ้อวด
เราจักเป็นผู้ไม่โอ้อวด.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้มีมารยา
เราจักเป็นผู้ไม่มีมารยา.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้กระด้าง
เราจักเป็นผู้ไม่กระด้าง.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ดูหมิ่นท่าน
เราจักเป็นผู้ไม่ดูหมิ่นท่าน.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ว่ายาก
เราจักเป็นผู้ว่าง่าย.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้มีมิตรชั่ว
เราจักเป็นผู้มีมิตรดี.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ประมาท
เราจักเป็นผู้ไม่ประมาท.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
เราจักเป็นผู้มีศรัทธา.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ไม่มีหิริ
เราจักเป็นผู้มีหิริ.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
เราจักเป็นผู้มีโอตตัปปะ.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้มีสุตตะน้อย
เราจักเป็นผู้มีสุตตะมาก.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ขี้เกียจ
เราจักเป็นผู้ปรารภความเพียร.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้มีสติอันลืมหลง
เราจักเป็นผู้มีสติตั้งมั่น.
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้มีปัญญาทราม
เราจักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.
ม. มู. ๑๒/๗๘/๑๐๖.

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558



."ดูก่อน กษิติครรภ์ ในยุคอนาคตหากมีเทวดาและมนุษย์ที่เมื่อหมดบุญวาสนาแล้วต้องตกอบายภูมิ"..
.."หากกำลังจะตกหรือได้ไปถึงประตูนรกแล้ว หากสรรพสัตว์เหล่านั้น สามารถระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง หรือพระธรรมเพียง 1 บาท หรือ 1 บท"..
.."เธอจงใช้พลานุภาพหาวิธีช่วยเหลือเขาเหล่านั้น เธอจงไปยังสถานที่ที่เขาเหล่านั้นอยู่ แล้วจงปรากฎกายไปช่วยให้พวกเขา พ้นจากนรกต่างๆ"..
.."จงยังให้พวกเขาไปเกิดและเสวยสุขยังเทวโลกเถิด"..
.."มนุษย์และเทวดาในอนาคตและปัจจุบัน ตถาคตขอมอบหมายให้เธอ..จงใช้อุปายะและฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ อย่าให้พวกเขาตกอบายภูมิ"..
กษิติครรภ์โพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร
พระตรีปิฎกธราจารย์ศึกษานันทะ แห่งราชวงศ์ถัง แปลจากภาษาสันสกฤตสู่ภาษาจีน


เอกพุทธยาน การตรัสรู้อันสมบูรณ์ที่มีอยู่ในสรรพสัตว์
ตอน พระมัญชุศรีโพธิสัตว์
ข้าขออภิวาทวันทนาการ องค์สมเด็จพระบรมโลกุตราจารย์ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ผู้ทรางปลดเปลื้องอวิชชา เป็นผู้พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ พาหมู่สัตว์ผู้ทุกข์ยากข้ามพ้นมหาสาครห้วงมหรรณพสู่พระนิพพานอันพระเสริฐ ฯ
ข้าขอบูชาพระปัญญาคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัญญาญาณอันวิเศษที่บังเกิดขึ้น คือ องค์พระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ พระองค์นั้น ผู้เป็นคุรุแห่งสรรพสัตว์ขอความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงพึงมีแก่สรรพชีวิต
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์มหาสัตว์ ทรงเป็นโพธิสัตว์ผู้เป็นตัวแทนแห่งพระปัญญาธิคุณแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ คือ ปัญญาที่สามารถทำให้พ้นไปจากมายาทั้งปวง ข้ามพ้นโอฆะสงสารอันได้แก่ภพชาติได้
ก็สรรพกิเลสอันใดจองจำสรรพสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่าง ๆ เป็นเครื่องครอบงำกำบังพุทธภาวะ พระมัญชุศรีมหาสัตว์ทรงกำจัดเสียซึ่งพันธนาการทั้งปวง
ธรรมจักรมุทราแสดงให้เห็นว่า สรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไปไม่อาจดำรงอยู่อย่างเดิม กอปรด้วยเห็ตุปัจจัยจึงไม่ควรยึดมั่นถือมั้นว่านั่นเป็นเรา เป็นของเรา นันเป็นเขา นั่นเป็นของเขา
ท่ามกลางการหมุนเวียนก็แสดงนัยยะแห่งศูนยตา
เพราะสรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไปไม่อาจดำรงอยู่เองโดยปราศจากเหตุปัจจัยจึงเป็นศูนยตา
พระขรรค์ที่ลุกโชติช่วง หมายถึง ปัญญาที่จะสะบั้นสิ่งลวงตาทั้งมวล รวมถึง อายตนะทั้งหลาย
สิ่งที่ตา เห็น คือ รูป
สิ่งที่หู ได้ยิน คือ เสียง
สิ่งที่จมูก ได้สูดดม คือ กลิ่น
สิ่งที่ลิ้น ลิ้มรสสัมผัส คือ รส
สิ่งที่ถูกต้องกาย คือ สัมผัส
สิ่งที่ใจ รับรู้ คือ อารมณ์ปรุงแต่ง
รูปก็ไม่เที่ยงมิอาจยึดถือ ไม่อาจกำหนดสาระได้ เพราะรูปย่อมแปรเปลี่ยนไปตามเหตุและปัจจัยมากมาย
รูปไม่ใช่ตัวตน
รูปที่เห็นเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไปเท่านั้น
เสียง กลิ่นรส สัมผัส ก็เช่นเดียวกัน
ตาที่ใช้มองก็เหมือนกัน ไม่เที่ยง ไม่อาจยึดถือ ไม่อาจครอบครองหรือบังคับบัญชาแก่เฒ่า ตาก้อฝ้าฟาง ไม่แจ่มใส ตายแล้วก็กลับคืนสู่ธาตุทั้งปวง
จมูก ลิ้นกาย ก็เป็นดังนี้ด้วย
ส่วนใจนั้นเล่า ยิ่งไม่เที่ยงแท้แปรเปลี่ยนตลอดเวลา ไม่อาจบังคับบัญชาให้เป็นสุขอยู่ตลอดไปได้ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวรัก เดี๋ยวชัง เดี๋ยวพอ เดี๋ยวโกรธ เปรียบดังมายากล
สิ่งทั้งปวงจึงไม่ควรเข้าไปยึดถือปรุงแต่ง และนี่ก็คือ
ธรรมาวุธ อันโชติช่วงที่จะสะบั้นอุปาทานขันธ์ คือ ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนให้สิ้นไป
เป็นศาตราวิเศษสุดในมหาตรีสหัสสโลกอนันตจักรวาล
เป็นศาสตราวุธแห่ง ปัญญาธิคุณ ที่สะบันภพชาติและทุกข์ทั้งปวง
ผู้ใดเข้าถึงธรรมาวุธอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นั้นย่อมลุถึงนิพพาน ได้
อันพระขรรค์นี้ต่างจากเทพอาวุธทั้งหลาย เทพศาสตราใด ๆ นั้นย่อมมีไว้ประหัตประหารผู้อื่น และมักประหารด้วยโทสะ มีไว้ทำลายชีวิต
แต่ธรรมาวุธแห่งองค์พระมัญชุศรีใช้ประหัสประหารอัตตา อหังการ (ความเชื่อว่ามีตัวตน) มมังการ (ความยึดมั่นในของตน) และมายาภาพลวงตาทั้งหลาย เพื่อเข้าถึงการุณยธรรมอันบริสุทธิ์ เป็นศาตราวุธที่ให้ชีวิตอย่างแท้จริง
ผู้ใดที่บูชาองค์พระมหาสัตว์ด้วยปัญญาย่อมเข้าถึงปัญญา
ผู้ใดบูชาองค์พระมหาสัตว์ด้วยมหากรุณา ย่อมเข้าถึงกรุณา
ผู้ใดบูชาองค์มหาสัตว์ด้วยธรรมย่อมเข้าถึงธรรม
บุคคลผู้นั้นแม้อยุ่ท่ามกลางมหาโจร ก็จักไม่เป็นอันตราย
อันมหาโจร คือ
โจรทางตา
โจรทางหู
โจรทางจมูก
โจรทางลิ้น
โจรทางกาย
โจรทางใจ
ทึ่คอยปรุงแต่ง
ให้ รัก
ให้ โกรธ
ให้ หลง
ให้ ยึดติด
เมื่อเข้าถึงแล้วว่าสภาพทั้งปวงเป็นศูนยตา ลักษณะทั้งปวงเป็นมายา
รูปแม้ปรากฏ
เสียงแม้ไพเราะ
จะทำอันตรายอย่างใดได้
และผู้นั้นจะไม่จมลงสู่ห้วงน้ำ คือ สงสารวัฏจักแห่งชาติภพ
สถิตอยู่ท่ามกลางนภากาศ ดุจดวงศศิธร คือ ความมั่นคงไม่ไหวหวั่นไปตามโลกธรรม อันได้แก่
มีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
สุข ทุกข์
สรรเสริญ นินทา
ผู้นั้นย่อมเป็นอิสระจากมายาทั้งปวง
ดำรงอยู่ในสภาวะอันสมบูรณ์ที่ไม่มีอื่นใดมาเปรียบเทียบเคียงได้
นี้คือ ธารณีแห่งพระมหาสัตว์มัญชุศรี ผู้ทรงผลานุภาพด้วยปัญญา
โอม หมายถึง การกำเนิดแห่งสรรพสิ่งเพื่อเข้าสู่ธรรม
อา หมายถึง ธรรมดาแห่งศูนยตา
รา หมายถึง ความบริสุทธิ์จากการเกิดดับโดยสมบูรณ์
ปา หมายถึง บริบูรณ์ภาพแห่งการตรัสรู้
จา หมายถึง ในการลุถึงศูนยตาภาวะอันไม่มีการปฏิบัติเพื่อเข้าถึง
ณา หมายถึง ศูนยตาเป็นภาวะอันสมบูรณ์ยิ่งด้วยตัวเอง
ตี หมายถึง ปัญญาญาณ พาหนะ คือ ปัญญา อันลุแก่พระนฤพาน ฯ
ครั้งหนึ่ง คหบดีจีนท่านหนึ่ง ต้องการเลี้ยงพระทั้งวัดบนภูเขาอู่ไถ่
พระจึงชักชวนคนยากจนมารับทานด้วย
เพราะพระโพธิสัตต์มัญชุศรีมักจะสอนเน้นให้คนทั้งหลายมีความเสมอกัน ไม่แบ่งแยกระหว่างคนรวยกับคนจน ไม่แบ่งแยกระหว่างพระกับฆราวาส
ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงใคร่อยากรู้ใจมนุษย์
จึงจำแลงร่างเป็นหญิงขอทานที่กำลังตั้งครรภ์
คหบดีรำคาญใจมากที่เห็นชาวบ้านพวกนี้
เพราะตั้งใจมาทำบุญเลี้ยงพระเพียงอย่างเดียว
ครั้นมาถึงคิวหญิงขอทาน
นางบอกว่า ต้องการข้าว 2 จาน จานหนึ่งสำหรับตนเอง อีกจานหนึ่งสำหรับลูกในท้อง
เจ้าของงานไม่ยอม
นางจึงไม่ยอมกินอาหารนั้นและเดินออกจากวิหารไป กลายเป็นพระมัญชุศรีโพธิสัตต์เหาะขึ้นท้องฟ้าด้วยเทพบริวารตระการตา เป็นเหตุให้เจ้าของงานและทุกคนที่อยู่สถานที่นั้นก้มกราบขมาลาโทษต่อพระโพธิสัตต์กันถ้วนหน้า
ตั้งแต่นั้นมา ถือเป็นนโยบายของเขาอู่ไถ่ว่า
หากต้องการเลี้ยงพระก็ต้องทำทานต่อผู้ยากไร้ด้วย
พระโพธิสัตว์เปรียบดั่งดวงจันทร์ ที่ส่องส่างไม่เลือกชั้นวรรณะ จนหรือรวย เป็นคนหรือเป็นสัตว์ ดีหรือชั่ว ขอให้สรรพชีวิตจงมีกรุณาแก่กัน ขอพระสัทธรรมอันเปรียบประดุจดวงภานุมาศจงเจิดจ้าเหนือห้วงมหรรณพเป็นนิรันดร์เทอญฯ
ที่มา ;
http://www.sookjai.com/index.php?topic=3133.0

เคารพและให้เกียรติ

๐ เคารพและให้เกียรติ ๐
“...ไม่ว่าเธอจะเป็นพระหรือฆราวาส ถ้าเธอเป็นผู้ปฏิบัติตามพุทธธรรมอย่างบริสุทธิ์แท้จริง เธอจะสามารถลุถึงความเคารพนอบน้อมในทุกแห่งที่เธอไป และเธอจะได้พบกับมรรคาที่ชัดเจนและกว้างขวาง ถ้าเธอสามารถมีจิตใจที่เปิดกว้างเช่นนี้ เธอจะไม่มีความเห็นแก่ตัวในจิตใจ และในทุกสิ่งที่เธอทำ เธอจะทำเพื่อผู้อื่น ไม่ว่าเธอจะไปแห่งใด ผู้คนก็จะต้องการติดต่อสัมพันธ์กับเธอ และในขณะที่เธอสามารถติดต่อสัมพันธ์กับทุกๆคนได้นั้นเอง เธอก็จะสามารถติดต่อสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ นี่คือประสิทธิผลอันยิ่งใหญ่ของความเคารพนอบน้อม
เราควรจะดูแบบอย่างจากพระพุทธองค์ในการเรียนรู้วิธีการแสดงความเคารพ พระพุทธเจ้าศากยมุนีไม่เพียงแต่จะทรงแสดงความเคารพและให้เกียรติแด่พระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลาย แต่พระองค์ยังทรงแสดงความเคารพต่อสรรพสัตว์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นี่คือสาระสำคัญของพุทธศาสนา...
...เธอควรนำวิธีการให้เกียรติและการเคารพต่อทุกๆคนรอบตัวเธอดังเช่นนี้มาใช้ ก็ด้วยความเคารพให้เกียรติอันไม่มีประมาณเช่นนี้แหละ เธอจะไม่สูญเสียความสงบในใจของเธอ เธอไม่เพียงแต่ควรแสดงความเคารพต่อผู้ที่เป็นคนดี เธอควรแสดงความเคารพต่อผู้ที่เป็นคนไม่ดีด้วย เพราะว่าสิ่งใดก็ตามที่คนเหล่านี้ได้กระทำให้ตนเองเป็นคนไม่ดี ก็เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เธอควรจะนำทัศนคติแห่งความเสมอภาคต่อทุกๆคนมาใช้ และเมื่อนั้นเธอจะไม่มีความโกรธหรือความเกลียดชัง จิตใจของเธอจะสงบ บริสุทธิ์ และมั่นคง
พระพุทธเจ้าคือบุคคลแบบใด? พระองค์คือผู้ที่ให้ความสำคัญแก่ผู้อื่นมากกว่าตนเองเสมอ คือผู้ที่ไม่มีความคิดความปรารถนาเพื่อตนเอง เพราะพระองค์ทรงมีจิตใจเช่นนี้ พระองค์จึงสามารถอุทิศทุกๆสิ่งที่ทรงมีให้แด่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ถ้าเธอสามารถดำเนินตามอย่างที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้ เธอก็จะไม่มีความปรารถนาและความเห็นแก่ตัว และด้วยความไม่เห็นแก่ตัว การกระทำของเธอจะแสดงความซื่อตรงในทุกแห่งที่เธอไป เธอจะเผยให้เห็นความบริสุทธิ์และความซื่อตรงในทุกการกระทำของเธอ...”
/พระอาจารย์เหรินจุ้น (พ.ศ.๒๔๖๒ – ๒๕๕๔) พระอาจารย์ผู้ก่อตั้ง Bodhi Monastery เมืองซัสเซ็กซ์ เคาน์ตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
Bodhi Monastery มุ่งเผยแผ่พุทธธรรมโดยไม่แบ่งแยกนิกาย ตามประณิธานของพระอาจารย์อิ้นซุ่น พระอาจารย์ผู้เป็นปราชญ์รูปสำคัญของพุทธศาสนาในจีน (และเป็นอาจารย์ของท่านเหรินจุ้น) ซึ่งมุ่งให้ความสำคัญแก่การศึกษาแก่นแท้ของพุทธศาสนามากกว่ารูปแบบหรือขั้นตอนในพิธีกรรมของนิกายต่างๆ
*ส่วนหนึ่งมาจากพระะรรมเทศนา Respect: The Basis for Compassion and Wisdom รวมอยู่ในหนังสือ Great Bodhi Mind: A Collection of Dharma Talks By Ven. Jen-chun
___________
ที่มา : ZEN

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

ภาว.พุทโธ

คำสอน ระหว่าง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กับ สามเณร รูปหนึ่ง :
หลวงปู่ ให้สามเณร เริ่มที่การนั่ง เมื่อนั่งเข้าที่ เข้าทางแล้ว ก็ให้หลับตา ภาวนา "พุทโธ" ไว้ อย่าส่งใจไปคิดถึงสิ่งอื่น ให้นึกถึงแต่ พุท โธ พุทโธอย่างเดียว ให้จดจำไว้ และนำไปปฏิบัติต่อไป ตามที่หลวงปู่สอน
จิตใจ เป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง มักจะคิดฟุ้งซ่าน ไปโน่นไปนี่เสมอ ในระยะเริ่มต้น คนที่ไม่เคยฝึกมาก่อน อยู่ ๆ จะไปบังคับให้มันหยุดนิ่ง คิดอยู่แต่ พุทโธ ประการเดียว เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
ด้าน สามเณร เมื่อภาวนาไปตามที่หลวงปู่สอนได้ระยะหนึ่ง ก็เกิดความสงสัยขึ้น จึงเรียนถามหลวงปู่ว่า "เมื่อหลับตาภาวนาแต่พุทโธแล้ว จะเห็นอะไรครับหลวงปู่"
หลวงปู่บอก "อย่าได้สงสัย อย่าได้ถามเลย ให้เร่งรีบภาวนาไปเถิด ให้ภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆ แล้วมันจะรู้เองเห็นเองแหละ"

ในการพิจารณาธรรม จนเกิดวิมุตติ



ในการพิจารณาธรรม จนเกิดวิมุตติหรือบรรลุธรรมนั้น
จะต้องมีโยนิโสมนสิการ คือมีการพิจารณาใคร่ครวญ ให้เห็นถึงต้นเหตุ คือต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบครอบทุกแง่มุมและสืบไปให้ถึงต้นเหตุจริงๆ จนจิตบังเกิดความหลุดพ้น (วิมุตติ) ซึ่งเรียกว่าเป็น การเห็นสัจธรรม ซึ่งในขณะที่มีการเห็นสัจธรรม หรือเห็นความจริงแท้ของธรรมชาตินั้นจะมีลำดับขั้นในการเห็นโดยละเอียด อยู่ถึง ๙ ขั้น อันได้แก่
๑. อนิจจตา เห็นความไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา เห็นความต้องทน
๓. อนัตตา เห็นความไม่ใช่ตัวตน
๔. ธัมมัฏฐิตตา เห็นความที่มันตั้งอยู่ โดยความเป็นอย่างนั้น
๕. ธัมมนิยามตา ห็นความที่มันเป็นไปตามกฎของธรรมชาติอย่างนั้น
๖. อิทัปปัจจยตา เห็นความที่มันเป็นไปตามปัจจัย
๗. สุญญตา เห็นความว่างจากตัวตน
๘. ตถตา เห็นความที่มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง
๙. อตัมมยตา เห็นสภาวะจิตที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งให้หวั่นไหวได้
เมื่อเรายกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เช่น รูปขันธ์) ขึ้นมาเพ่งพิจารณา
ให้เห็นความไม่เที่ยง (หรือการเกิด-ดับ) อย่างแรงกล้า (ด้วยสมาธิ) ก็จะมองเห็นความทุกข์และถ้าเพ่งมองทุกข์ต่อไปอย่างแรงกล้า ก็จะมองเห็นความไม่ใช่ตัวตน และถ้าเพ่งมองไปไม่หยุด ก็จะบังเกิดการเห็นต่อไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายจิตก็จะเกิดความเห็นแจ้ง ในความเป็นเช่นนั้นเอง แล้วจิตก็จะหลุดพ้น และมองเห็นสภาวะจิตที่หลุดพ้น ที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งให้หวั่นไหวได้อีกต่อไป ซึ่งการเห็นทั้งหมดนี้ จะเกิดต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว แต่เราสามารถแยกแยะ ออกมาให้ศึกษาได้ถึง ๙ ขั้น โดยในแต่ละขั้นนั้นจะเรียกว่าเป็น ญาณ ที่หมายถึง ความรู้ที่เกิดมาจากการปฏิบัติ แต่ญาณทั้ง ๙ ขั้นนี้เมื่อสรุปแล้วจะเหลือเพียง ๒ ญาณ อันได้แก่
๑. ธัมมฐิติญาณ ญาณที่เห็นความตั้งอยู่ของธรรมชาติ
๒. นิพพานญาณ ญาณที่เป็นส่วนของการดับทุกข์
ญาณทั้งหลายถ้ายังไม่ถึงกับดับทุกข์ได้ จะสรุปลงในธัมมฐิติญาณ คือยังเป็นเพียงการเห็นความตั้งอยู่ ของธรรมชาติเท่านั้น แต่ถ้านิพพานปรากฏแล้ว
ก็จะเกิดนิพพานญาณคือ จะเกิดความรู้ว่านิพพานปรากฏแล้ว
ถูกต้องแล้ว ไม่มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว....

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

การขออ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในสากลโลกให้มาช่วยตนให้มีความสุข

“พวกเราเป็นชาวพุทธ อย่าไปคอยแต่อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
ในสากลโลกให้มาช่วยตนให้มีความสุข ความเจริญต่างๆ นานาอย่างนี้
ไม่มีหรอกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกนี้
ที่จะช่วยบุคคลผู้ประมาท จะช่วยแต่บุคคลผู้ไม่ประมาท
ผู้สั่งสมบุญกุศล ผู้มีศีลธรรมอันงาม แม้ว่าไปเกิดอุปสรรค
ความขัดข้องอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา
แล้วผู้นั้นอธิษฐานจิตถึงบุญถึงคุณของตน
หากบุญคุณของตนที่บำเพ็ญมามันมากพอ
มันก็จะไปดลจิตดลใจของเทวดาอินทร์พรหม
ให้ล่วงรู้ว่า..โอ้ คนมีบุญผู้นี้กำลังประสบอุปสรรคขัดข้อง
อย่างใดอย่างหนึ่ง เราจำเป็นต้องลงไปช่วย
ไม่ใช่เทวดาก็พญาอินทร์ ไม่ใช่ก็ท้าวมหาพรหมลงมาช่วย
มาช่วยแก้ไขอุปสรรคของผู้นั้นให้ลุล่วงไปด้วยดี
ผู้นั้นก็ถึงซึ่งความสุขความเจริญนี่
การที่เทวดาอินทร์พรหมจะช่วยมนุษย์เราน่ะ
มนุษย์เราต้องช่วยตนเองให้เต็มที่เสียก่อน
ต้องสั่งสมบุญให้มากซะก่อน”
โอวาทธรรมหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

ความรักที่ให้ออกไป ความรักก็จะย้อนกลับคืนมา ความสุขที่ให้ออกไป ความสุขก็จะย้อนกลับคืนมา คิดเผื่อคนอื่น ย่อมจะต้องมีคนคิดถึงคุณ



ค่ำวันหนึ่งเมื่อ 20 ปีที่แล้ว มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งท่าทางเหมือนนักศึกษากำลังลังเลอยู่หน้าร้านบุฟเฟต์แห่งหนึ่ง เมื่อลูกค้าส่วนมากออกจากร้านแล้ว เขาจึงเดินเข้าร้านมาด้วยอาการเขินอาย
"ขอข้าวเปล่าถ้วยหนึ่ง ขอบคุณครับ" เด็กหนุ่มก้มหน้าพูด
เจ้าของร้านบุฟเฟต์เพิ่งเปิดใหม่เป็นเถ้าแก่หนุ่มสาวคู่หนึ่ง เห็นเด็กหนุ่มไม่เอากับข้าวก็รู้สึกสะท้อนใจ แต่ก็ไม่ได้ถามอะไร เขารีบตักข้าวพูนถ้วยส่งให้กับเด็กหนุ่มคนนั้น
เด็กหนุ่มจ่ายเงินพร้อมกับพูดด้วยเสียงแผ่วเบาว่า
"ผมขอน้ำแกงราดบนข้าวสักหน่อยได้ไหมครับ?"
"ตามสบายเลยค่ะ ไม่คิดตังค์" เถ้าแก่เนี้ยพูด
เขากินไปได้ครึ่งถ้วย ก็สั่งอีกถ้วยหนึ่ง
"ไม่อิ่มใช่ไหม? ถ้วยนี้เดี๋ยวผมตักให้คุณมากหน่อย" เถ้าแก่พูดด้วยความเอาใจใส่
"ไม่ใช่ครับ ผมเอาใส่กล่อง พรุ่งนี้จะเอาไปกินที่มหาลัยนะครับ"
เมื่อเถ้าแก่ได้ยิน ก็เดาออกว่า เด็กหนุ่มคนนี้คงมาจากต่างจังหวัดในเขตภาคใต้เป็นแน่ ฐานะที่บ้านคงไม่สู้จะดีนัก เขาคงมาเรียนที่ไทเปคนเดียว และคงจะทำงานและก็เรียนไปด้วย ดูก็รู้ว่าเด็กคนนี้คงจะลำบากอยู่ไม่น้อย เขาจึงตักโร่วจ้าว (เนื้อเคี่ยวซอสสำหรับราดบนข้าว) ใส่ไว้ที่ใต้กล่องข้าว จากนั้นก็เอาไข่ตุ๋นชาใส่ไปหนึ่งฟอง จากนั้นจึงตักข้าวอัดไปเต็มกล่อง มองดูแล้วเหมือนไม่มีอะไรอยู่ในกล่องข้าว นอกเสียจากข้าวเปล่า
เมื่อภรรยาของเขาเห็นดังนั้น ก็เข้าใจในสิ่งที่สามีกำลังทำว่าต้องการช่วยเหลือเด็กหนุ่มคนนี้ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ราดโร่วจ้าวไว้บนข้าว จะใส่ไว้ใต้ข้าวทำไม?
เถ้าแก่กระซิบบอกภรรยาว่า "เด็กผู้ชายรักศักดิ์ศรี หากเขาเห็นว่าบนข้าวมีโร่วจ้าวเขาอาจคิดว่าเราทำทานแก่เขา หากเป็นอย่างนี้ คราวหน้าเขาจะไม่กล้ามาอีก ถ้าเขาไปกินร้านอื่นก็ได้กินแต่ข้าวเปล่า แล้วจะเอาแรงที่ไหนไปเรียนหนังสือ"
"คุณเป็นคนดีจริงๆ จะช่วยเขายังกลัวเขาอายอีก"
"หากผมไม่ดี คุณจะแต่งงานกับผมเหรอ!" เถ้าแก่หนุ่มหยอกเย้าผู้เป็นภรรยา
"ขอบคุณครับ ผมอิ่มแล้ว แล้วเจอกันใหม่ครับ" เด็กหนุ่มพูดจบก็หยิบข้าวกล่องแล้วเดินออกจากร้านไป
เมื่อเด็กหนุ่มถือข้าวกล่องที่ดูหนักกว่าข้าวเปล่าออกจากร้านไป ก็หันมายิ้มให้เจ้าของร้านทั้งสอง
"สู้ๆ นะ พรุ่งนี้พบกันใหม่" เถ้าแก่พูดและโบกมือให้กับเด็กหนุ่มคนนั้น ในคำพูดประโยคนั้นของเขาแฝงด้วยคำเชิญให้เด็กหนุ่มมากินข้าวที่นี่ใหม่ในวันพรุ่งนี้
เด็กหนุ่มน้ำตาคลอ ไม่กล้าหันไปมองเจ้าของร้าน กลัวว่าน้ำตาจะร่วงให้เขาทั้งสองเห็น
จากนั้นเป็นต้นมา นอกจากว่าเป็นช่วงปิดเทอม พลบค่ำของทุกวัน เด็กหนุ่มก็จะมากินข้าวที่ร้าน เขาสั่งข้าวเปล่าหนึ่งถ้วยและข้าวเปล่าหนึ่งกล่องเอากลับบ้าน และใต้กล่องข้าวก็จะมีอาหารที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน จนเด็กหนุ่มเรียนจบปริญญาตรี ผ่านมา 20 ปีแล้ว ที่ร้านบุฟเฟต์แห่งนี้ไม่ได้ต้อนรับลูกค้าคนพิเศษคนนี้อีกเลย
อยู่ๆ ทางการก็ส่งจดหมายมาบอกว่าจะทำการเวนคืนที่ และร้านของเขาก็เป็นหนึ่งในนั้น สองสามีภรรยาอายุใกล้จะ 50 ปี เมื่อรู้ข่าวนี้ต่างก็กลัดกลุ้มใจ ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะทำอย่างไร เงินทองที่จะได้จากทางการก็ไม่เพียงพอกับการจัดซื้อบ้านที่มีทำเลดีอย่างนี้ได้อีก แล้วลูกๆ ที่กำลังเรียนอยู่จะหาค่าเทอมมาจากไหน? ต่างก็กอดกันร้องไห้ไม่รู้จะจัดการกับชีวิตอย่างไรดี
เช้าวันหนึ่ง ชายคนหนึ่งแต่งกายภูมิฐานเข้ามาหาสองสามีภรรยา
"สวัสดีครับคุณทั้งสอง ผมเป็นรองผู้จัดการบริษัท... ผู้จัดการใหญ่ของเราต้องการให้คุณเข้าไปทำร้านอาหารบุฟเฟต์ในบริษัทของเราที่กำลังจะทำการเปิดใหม่ในเร็วๆ นี้ เรื่องค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งและอุปกรณ์ต่างๆ ค่าวัสดุในการทำอาหาร ทางเราจะเป็นผู้รับผิดชอบ ขอเพียงคุณจัดหากุ๊กปรุงอาหารและบริหารงานก็พอ ส่วนกำไรแบ่งครึ่งกับบริษัทของเรา"
ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทเป็นใครกัน? ทำไมเขาถึงดีกับเราอย่างนี้? เราไม่เคยรู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมเลยสักคนเดียว? สองสามีภรรยาต่างทำหน้างงๆ
"คุณทั้งสองเป็นผู้มีพระคุณของผู้จัดการใหญ่ของเรา ท่านบอกว่าท่านชอบกินไข่ตุ๋นชาและโร่วจ้าวของร้านคุณมาก รายละเอียดผมทราบเพียงแค่นี้ นอกเหนือจากนี้คุณคงจะทราบได้เองเมื่อได้เจอกับผู้จัดการใหญ่ของเรา"
เมื่อเดินทางไปถึงบริษัท สองสามีภรรยาจึงรู้ว่า ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทนี้ก็คือเด็กหนุ่มที่มากินข้าวเปล่ายามพลบค่ำทุกวันนั่นเอง หลังจากจบมหาวิทยาลัย เขาก็มุมานะสร้างเนื้อสร้างตัวจนสามารถเปิดบริษัทแห่งนี้ได้ เขาสำนึกบุญคุณข้าวเปล่าที่สองสามีภรรยาให้เขากินตลอดเวลาที่เรียนมหาวิทยาลัย หากไม่มีสองสามีภรรยาช่วยเหลือเขาในตอนนั้น เขาคงลำบากและไม่สามารถเรียนจนจบได้
เรื่องราวก่อนเก่าแต่หนหลังถูกรื้อฟื้นขึ้นในวงสนทนาเคล้าเสียงหัวเราะและน้ำตา เมื่อถึงเวลาที่สองสามีภรรยาจะลากลับ ชายหนุ่มยืนขึ้นโค้งคำนับพร้อมกับพูดว่า
"สู้ๆ นะครับ ต่อไปนี้บริษัทของเราต้องพึ่งพาคุณแล้วนะ พรุ่งนี้พบกันใหม่"
ความรักที่ให้ออกไป ความรักก็จะย้อนกลับคืนมา
ความสุขที่ให้ออกไป ความสุขก็จะย้อนกลับคืนมา
คิดเผื่อคนอื่น ย่อมจะต้องมีคนคิดถึงคุณ
นี่คือเหตุและผล นี่คือกฏเกณฑ์...

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

จิตเดิมแท้..

จิตเดิมแท้..
“...จิตแท้นี้ต้องเป็น “ความบริสุทธิ์” หรือ “สอุปาทิเสสนิพพาน” ของพระอรหันต์ท่านเท่านั้น นอกจากนี้ไม่อาจเรียก “จิตแท้” อย่างเต็มปากเต็มใจได้ สำหรับผู้แสดงกระดากใจไม่อาจเรียกได้
“จิตดั้งเดิม” หมายถึงจิตดั้งเดิมแห่ง “วัฏฏะ” ของจิตที่เป็นอยู่นี่ ซึ่งหมุนไปเวียนมา ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในหลักธรรมว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จิตเดิมแท้ผ่องใส” นั่น! “แต่อาศัยความคละเคล้าของกิเลสหรือกิเลสจรมา จึงทำให้จิตเศร้าหมอง” ท่านว่า
“จิตเดิมแท้” นั้นหมายถึงเดิมแท้ของสมมุติต่างหาก ไม่ได้หมายถึงความเดิมแท้ของความบริสุทธิ์ เวลาท่านแยกออกมา “ปภัสสรมิทัง จิตฺตัง ภิกฺขเว” “ปภัสสร” หมายถึง ประภัสสร คือความผ่องใส ไม่ได้หมายถึงความบริสุทธิ์ นี่ หลักเกณฑ์ของท่านพูดถูกต้องหาที่แย้งไม่ได้เลย ถ้าว่าจิตเดิมเป็นจิตที่บริสุทธิ์นั้นจะมีที่ค้านกันว่า “ถ้าบริสุทธิ์แล้วมาเกิดทำไม?” นั่น แน่ะ!
ท่านผู้ชำระจิตบริสุทธิ์แล้วท่านไม่ได้มาเกิดอีก ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วชำระกันทำไม มันมีที่แย้งกันตรงนี้ จะชำระเพื่ออะไร? ถ้าจิตผ่องใสก็ชำระ เพราะความผ่องใสนั้นแลคือตัว “อวิชชา” แท้ไม่ใช่อื่นใด ผู้ปฏิบัติจะทราบประจักษ์ใจของตนในขณะที่จิตได้ผ่านจากความผ่องใสนี้ไปแล้วเข้าถึง “วิมุตติจิต” ความผ่องใสนี้จะไม่ปรากฏตัวเลย นั่น! ทราบได้ตรงนี้อย่างประจักษ์กับผู้ปฏิบัติ และค้านกันได้ก็ค้านกันตรงนี้ เพราะความจริงนั้นจะต้องจริงกับใจของบุคคล เมื่อใครทราบใครรู้ก็ต้องพูดได้เต็มปากทีเดียว
ฉะนั้น จิตของพวกเรากำลังตกอยู่ในวงล้อม ทำให้หวาดให้กลัว ให้รักให้ชัง ให้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างชื่อว่าเป็นอาการของสมมุติ เป็นอาการของกิเลสโดยสิ้นเชิง ตัวเราเองไม่ได้พลังจิตเป็นของตนเอง มีแต่พลังของกิเลสตัณหาอาสวะ มันผลักมันดันอยู่ทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วเราจะหาความสุขความสบายมาจากที่ไหน เมื่อธรรมชาตินี้ซึ่งเป็นของแปรสภาพอยู่ตลอดเวลา ยังมายั่วยุจิตให้เป็นไปตามอีกด้วยโดยที่เราไม่รู้สึก
โลกนี้จะหาความสุขที่ไหน หาไม่ได้ ถ้า ไม่ได้ถอดถอนธรรมชาติเหล่านี้ออกจากจิตใจโดยสิ้นเชิงเสียเมื่อไร จะหาความทรงตัวอยู่อย่างสบายหายห่วงไม่ได้เลย จะต้องกระดิกพลิกแพลงหรือต้องเอนโน้นเอนนี้ ตามสิ่งที่มาเกี่ยวข้องยั่วยวนมากน้อย ฉะนั้นท่านจึงสอนให้ชำระจิต ซึ่งเป็นการชำระความทุกข์ทรมานของตนนั้นแล
ไม่มีผู้ใดที่จะหยั่งถึงหลักความจริงได้อย่างแท้จริงดั่งพระพุทธเจ้า มีพระองค์เดียวที่เรียกว่า “สยัมภู” โดยไม่ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้หนึ่งผู้ใดเลย ในการแก้กิเลสออกจากพระทัยของพระองค์ ทรงทำหน้าที่ทั้งเป็นนักศึกษาทั้งเป็นครูไปในตัวลำพังพระองค์เดียว จนได้ตรัสรู้ถึงขั้น “ยอดธรรม ยอดคน ยอดศาสดา”
ส่วนทางสมาธิด้านความสงบนั้น ท่านคงได้ศึกษาอบรมมาบ้างเหมือนกันกับดาบสทั้งสอง ไม่ปฏิเสธ แต่นั่นไม่ใช่ทางถอดถอนถึงความเป็น “สัพพัญญู” ได้ เวลาจะเป็น “สัพพัญญู” ก็เสด็จออกจากดาบสทั้งสองไปบำเพ็ญลำพังพระองค์เดียว และทรงรู้เองเห็นเองโดยไม่มีครูสั่งสอนเลย แล้วนำธรรมนั้นมาสั่งสอนโลก...”
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน..

วันเวลาบนโลกนี้มีแค่3วัน


อ้อ อย่างนั้นหรือ



หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีหญิงสาวคนหนึ่งท้อง พ่อแม่บังคับให้ลูกบอกว่าใครเป็นพ่อของเด็ก หญิงสาวทนพ่อแม่บีบคั้นไม่ได้ แต่กลัวไม่กล้าบอกว่าใครเป็นพ่อ เพราะพ่อกำลังโมโหถืออาวุธจะไปเอาเรื่องกับคนที่ตนรัก เลยโกหกไปว่าพ่อของเด็กเป็นพระอาวุโสรูปหนึ่งในวัดใกล้บ้าน พ่อแม่โมโหมากแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
เมื่อเด็กคลอดออกมา คนที่บ้านก็เอาเด็กไปหาพระอาวุโสรูปนี้ พระอาวุโสท่านทราบก็บอกเพียงว่า "อ้อ อย่างนั้นหรือ" แล้วก็รับเด็กไว้
ตั้งแต่นั้น พระอาวุโสรูปนี้ท่านก็รับเลี้ยงเด็กไว้ เวลาไปบิณฑบาตตามบ้านท่านก็เอาไปด้วยเพราะไม่มีคนเลี้ยง คนทั้งหมู่บ้านเห็นก็สงสัย ไปถามๆ กันต่อๆ พอทราบตามที่หญิงสาวโกหกไว้ ก็เป็นเดือดเป็นแค้น ไปก่นด่าพระอาวุโสรูปนั้นต่างๆ นาๆ อย่างหยาบคาย แล้วก็บอกว่าไม่ต้องมาบิณฑบาตที่หมู่บ้าน จะไม่มีใครใส่อาหารให้ ท่านก็บอกเพียงว่า "อ้อ อย่างนั้นหรือ"
ผ่านไป 1 ปี หญิงสาวก็ทนไม่ไหว รู้สึกผิดสำนึกละอายใจ จึงไปสารภาพกับพ่อแม่ว่า พ่อของเด็กเป็นอีกคนหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับพระอาวุโสรูปนั้นเลย
พ่อแม่หญิงสาวทราบตวามจริงก็ละอายใจมาก รีบไปพบพระอาวุโสรูปนั้น เพื่อขอโทษพระอาวุโสรูปนั้น และรับเด็กกลับมาเลี้ยง ท่านก็พูดเพียงว่า "อ้อ อย่างนั้นหรือ"
ชาวบ้านทราบเรื่องก็ละอายแก่ใจ มาขอโทษท่าน นิมนต์ให้ท่านกลับไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านอีก ท่านก็พูดเพียงว่า "อ้อ อย่างนั้นหรือ"
พระอาวุโสรูปนี้ ท่านถูกกล่าวหาจนชาวบ้านไม่นับถือแถมยังก่นด่าใส่อย่างหยาบคาย แต่ท่านก็นิ่งรับเฉยๆ ไว้ เพราะเหตุใด?
หากบอกว่า "เพราะเมื่อท่านบวชเป็นพระ ชื่อเสียงเงินทองต่างเป็นของนอกกาย สรรพสิ่งล้วนหามีสาระให้ยึดมั่นได้ เด็กสาวเดือดร้อนต้องการปกปิดเรื่องของตน โกหกเพื่อปกป้องตัวเอง พ่อแม่และผู้คนต่างเข้าใจผิด แต่ท่านก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร หากช่วยเด็กสาวให้พ้นวิกฤตได้ ช่วยชีวิตของเด็กทารกได้ เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง" เป็นการกระทำที่เปี่ยมด้วยความเมตตาแก่คนทางโลก และมิได้ยึดมั่นไยดีกับโลกธรรม และผลของโลกวัชชะ ความคิดทางโลกอย่างสิ้นเชิง
ในชีวิตจริงตอนคนอื่นเข้าใจเราผิด เราต้องใช้เวลาอย่างมากในการอธิบายเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเรา แต่มักไม่มีประโยชน์ ในอารมณ์นั้นมักไม่มีใครฟัง ไม่มีใครยอมฟัง ไม่มีใครเชื่อ คนเราทั่วไปส่วนมากมีแนวโน้มที่จะเชื่อกับข้อมูลที่ได้รับมาครั้งแรก โดยไม่ค่อยพิจารณาว่า ความจริงเป็นเช่นไร ใช้หลักจากการรับรู้ของตัวเอง มีตีความอนุมานและปักใจเชื่อแล้ว อีกนานกว่าเวลาจะทำให้มีสติพิจารณาข้อมูลมากขึ้น ณ เวลานั้นพูดไปก็ป่วยการ ยิ้มรับแล้วไปทำเรื่องอื่นดีกว่า
ในชีวิตจริง คนที่เขาเข้าใจคุณ ก็จะเข้าใจคุณตั้งแต่แรก ไม่ใช่เพราะฟังคุณพูดครั้งเดียวก็เข้าใจคุณ แต่เขามีวิจารณญาณและประสบการณ์ที่ดี อ่านออกและเข้าใจว่าความจริงเป็นอย่างไร แต่คนที่ไม่เข้าใจและตัดสินคุณไปแล้ว คุณเปลี่ยนมันได้ยาก จนกว่าเขาจะได้ทราบข้อมูลแม้จริงแล้วเปลี่ยนความคิดด้วยตัวเขาเอง
ดังนั้น แทนที่เราจะต้องไปเสียเวลาในการแก้ตัวที่ไร้ประโยชน์ ไอ้ที่เสีย มันเสียอยู่แล้วเพราะเขาไม่มีทางที่จะมาทำความเข้าใจ ทำเรื่องที่ควรทำ ไปทำอะไรที่มีประโยชน์ในระยะยาวดีกว่า คนจะเข้าใจเราไปว่าเป็นอย่างไร ไม่สำคัญเท่าเราจะเลือกใช้ชีวิตเป็นอย่างไร
ได้รู้จักตัวเองแล้วจะไม่หวั่นไหวกับโลกธรรมทั้ง 8 และใช้ชีวิตอย่างสงบไม่รุ่มร้อน แม้อยู่ในท่ามกลางความรุ่มร้อนของผู้อื่น...


วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

สิ่งที่พึงหวงแหนที่สุดสำหรับลูกผู้หญิงมันเป็นสิ่งที่มีค่า‬




คุณพ่อถามลูกสาวที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่น
"อยากรู้ไหมว่าในมือพ่อมีอะไร"
ลูกสาวพยักหน้า
"ถ้าอยากรู้ต้องเอามือเขกพื้น ๓ ที"
ลูกสาวทำตาม
"ไม่พอ ต้อง ๕ ที"
และเปลี่ยนเป็น ๑๐ ที จนถึง ๑๕ ที จนลูกสาวเริ่มร้องอุทธรณ์
"โอ้โฮ แล้วเมื่อไหร่จะทราบเสียทีคะว่า ในมือพ่อมีอะไร"
เมื่อคุณพ่อแบมือออก ในมือมันก็แค่เหรียญ ๕ บาทธรรมดาๆ นี่เอง คุณพ่อหัวเราะ แล้วกำเหรียญ ๕ บาทเอาไว้เหมือนเดิม
"อยากดูอีกไหม ถ้าอยากดูต้องเขกพื้น ๑๐ ที"
"หนูรู้แล้ว ไม่อยากดูแล้วค่ะ"
"เอ้า... เขกพื้นทีเดียวก็ได้"
"ก็เห็นแล้ว ไม่อยากดูอีกแล้ว เบื่อ"
"ถ้าอย่างนั้น ให้ดูฟรีๆ ก็ได้"
พ่อแบมือออก ลูกสาวก็ดูไปอย่างนั้นเอง!!
‪#‎คุณพ่อจึงสอนว่า‬
"นี่แหละลูก อะไรที่เป็นความลับ คนเรามักจะยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สมปรารถนา อยากดู อยากรู้ อยากเห็น แต่เมื่อสมปรารถนาแล้ว ดูบ่อยๆ ก็มักจะเบื่อ ต่อให้ดูฟรี ๆ ยังไม่อยากจะดูเลย
‪#‎สิ่งที่พึงหวงแหนที่สุดสำหรับลูกผู้หญิงมันเป็นสิ่งที่มีค่า‬ ถ้าลูกให้ใครรู้ก่อนเวลาอันควร มันก็จะไม่มีค่าอะไร ไม่ต่างกับเหรียญ ๕ บาทที่พ่อให้ลูกดูฟรีๆนี่หรอกนะ"
ข้อมูลจาก Forword mail

แก้วมณีรัตนมกรนาคราช

แก้วมณีรัตนมกรนาคราช

ถวายเป็นพุทธบูชา ถวายในปี พ.ศ. 2557



นั่งสมาธิแล้ว แต่นั่งได้ไม่นานนัก มักจะฟุ้งซ่าน



ถาม__พยายามนั่งสมาธิแล้ว แต่นั่งได้ไม่นานนัก มักจะฟุ้งซ่านไปนึกถึงเรื่องอื่นๆ อยากฝึกมโนมยิทธิ แต่ก็ไม่รู้ว่าคืออะไร วันหยุดและเวลาว่างก็มีน้อยมาก ทำอย่างไรดีจึงจะฝึกมโนมยิทธิได้ ฝึกเองจะได้หรือไม่
.
ตอบ__การมีศัทธา และมีความพากเพียรพยายามจะนั่งสมาธิ เป็นต้นทุนที่ดีมาก พยายามต่อไปเรื่อยๆครับ 
__สมาธิสั้น นั้นเป็นเรื่องปกติครับ ไม่ต้องแก้ไข แต่ถ้าต้องการให้เกิดความก้าวหน้า ให้พิจารณาสัจธรรมความเป็นจริง ในเวลานั่งสมาธิว่า "ร่างกายกับจิตใจ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เดิมมีอิสระต่อกัน ต่อมามีเหตุบางประการ (กิเลสและความยึดถือมั่นเกินไป) ทำให้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน แบบชั่วคราว ตายเมื่อไหร่แยกทางกันไป"
__เวลาที่เหลือก่อนถึงวันตาย ต่อไปนี้เราจะคิดดี พูดดี ทำดี อยู่ในศีล 5 อันบริสุทธิ์ เพื่อเป็นพื้นฐานให้ได้มรรคผลและมีปัญญาพิจารณาให้เห็นธรรมอันสูงขึ้นไป ในอนาคต เมื่อสะสมบุญบารมีได้มากเพียงพอแล้ว สักวันหนึ่ง เมื่อเวลานั้นมาถึง ทุกท่านจะสามารถใช้มโนมยิทธิได้เองครับ
__วิชามโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิทางใจ เป็นธรรมะภาคปฏิบัติ เพื่อใช้พิสูจน์มรรคผลพระนิพพานโดยตรง ว่ามีจริงหรือไม่อย่างไร
__การเรียนมโนมยิทธิด้วยตนเองแบบวิชาทางโลก จะไม่ประสพผลสำเร็จ จะไม่ได้มรรคผลตามต้องการ ทุกคนจำเป็นต้องมีครูที่เชี่ยวชาญคอยชี้นำทางที่ถูกต้อง สั่งสอนให้อยู่ในศีล 5 เพื่อมิให้หลงไปในทางผิด ถ้าผู้สอนเป็นครูที่เคยสอนกันมาแต่อดีตชาติ (พบกันครั้งแรกก็เกิดศัทธาอย่างสูง) จึงจะสำเร็จมรรคผลได้โดยง่าย และไม่ผิดเพี้ยนจากพระธรรมที่แท้จริง
__แนะนำว่าให้อธิฐานต่อพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย "ขอให้ได้มีโอกาสพบกับครูบาอาจารย์ มีเวลาว่าง และทุนทรัพย์มากพอจะไปฝึกปฏิบัติธรรมในมโนมยิทธิ" เมื่อสะสมบุญบารมีได้มากเพียงพอแล้ว สักวันหนึ่ง เมื่อเวลานั้นมาถึง ทุกท่านจะสมหวังครับ

9 นิสัยของพ่อแม่ทำลายอนาคตลูกรัก


วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

เทวดา-พรหม และสัตว์เดรัจฉานทำบุญได้หรือไม่?



เทวดา-พรหม และสัตว์เดรัจฉานทำบุญได้หรือไม่?
โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
ถ้าได้ฟังใครเขาพูดว่า สัตว์เดรัจฉานทำบุญไม่ได้
นั้นไม่จริง อย่างเช่น เอราวัณเทพบุตร ท่านเป็นช้าง
ของพระอินทร์ในสมัยที่เป็น มาฆะมานพ ใช้แบกไม้
ดึงไม้ ลากไม้ เอาสร้างศาลาเป็นสาธารณะ ตายจาก
ความเป็นช้างไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึง
สเทวโลก มีนามว่า เอราวัณเทพบุตร
โกตุหริกะ คนยากจนหนีภัยโรคระบาดไปสู่บ้านกฎุมพี
ขอข้าวเขากิน ท่านกฎุมพีให้คนรับใช้เอาอาหารมาให้
๒ ส่วน ของโกตุหริกะส่วนหนึ่งและภรรยาส่วนหนึ่ง
ภรรยาให้สามีคือโกตุหริกะกินก่อนเมื่อเห็นสามีกิน
หมดชามแล้วยังไม่พอ เธอก็ส่งส่วนของเธอให้กินอีก
ขณะที่กินข้าวอยู่นั้นสุนัขตัวเมียที่ท่านกฎุมพีเลี้ยงไว้
ใกล้ชิด และท่านก็กำลังกินข้าวอยู่ กินข้าวมธุปายาส
ราคาแพงมาก ท่านแบ่งใส่จานให้หมาตัวเมียที่น่ารัก
หมอบอยู่ใกล้ๆโกตุหริกะคิดในใจว่า หมาตัวนี้มันดี
กว่าเราซึ่งเป็นคนมาก
คำว่าข้าวมธุปายาสแม้แต่เศษของเล็บเข้าไปแตะ
ก็ไม่เคยได้พบ เธอนึกในใจว่าหมาตัวนี้มีบุญเหลือเกิน
เธอกินข้าวหมดชามหลังเกิดอาการลมกำเริบ คือ
อาหารไม่ย่อยขาดใจตายลงไปเวลานั้น เมื่อขาดใจ
ตายไปแล้ว จิต (กายใน) หรืออทิสสมานกาย
ไม่ได้ตายไปด้วย
เมื่อสิ้นลมปราณหายใจหมดไปปั๊บ กายในมันออกจาก
กายเนื้อเข้าสู่ครรภ์สุนัขทันที ไม่นานก็คลอดออกมา
เป็นหมาโทน การที่ตายจากคนไปเกิดเป็นสุนัข สุนัข
ประเภทนี้รู้ภาษาคนดีมาก
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสต่อไปว่า หลังจาก
ที่เขาเกิดเป็นสุนัขแล้ว เป็นสุนัขแสนรู้ที่ท่านคหบดีรักมาก
เวลาจะไปนิมนต์พระปัจเจกพระพุทธเจ้าก็นำสุนัขแสนรู้
ไปด้วย บางคราวก็ใช้สุนัขตัวนี้ไปนิมนต์แทน การนิมนต์
ของเธอก็เห่าบ้าง หอนบ้าง แสดงสัญญาณ จุดใดที่
เคยเห็นท่านเศรษฐีคิดว่าจะมีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่ และตี
พุ่มไม้ให้มันตกใจหนีไป สุนัขตัวนี้ก็จำไว้ เวลาไปเอง
ตามลำพัง ไปถึงที่นั่นก็เห่าบ้าง หอนบ้าง เป็นการ
กระโชกให้สัตว์ร้ายหนีไป
ต่อมาเมื่อเวลาใกล้เข้าพรรษา พระปัจเจกพุทธเจ้า
ก็ไปลาท่านคหบดีขอไปจำพรรษาที่ภูเขาคันธมาส
สุนัขตัวนี้มันรักพระปัจเจกพุทธเจ้ามาก มองดูพระ
ปัจเจกพุทธเจ้าเหาะไป พอพ้นสายตาของมัน
มันก็ขาดใจตายทันทีพอดีกับวาระของชีวิตเข้ามาถึง
อาศัยที่มีความเคารพรักจริงในพระปัจเจกพุทธเจ้า
จึงบันดาลให้ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึง
สเทวโลก มีนามว่า "โฆษกเทพบุตร"
รวมความว่า สัตว์เดรัจฉานก็ทำบุญได้ เทวดาหรือ
พรหมก็ทำบุญได้
จากหนังสือ พ่อสอนลูก หน้า ๔๑๘-๔๑๙

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

จิต



อาตมาบอกไว้เท่านั้นว่า ให้มีสติคุมดวงจิต สัตว์นรกก็แม่นจิต สัตว์อเวจีก็แม่นจิต พระอินทร์พระพรหมก็แม่นจิต ที่เข้าพระนิพพานก็แม่นจิต ไม่ใช่ใคร
จิตไม่มีตนมีตัว จิตเหมือนวอกนี่แหละ แล้วแต่มันจะไป บังคับบัญชามันไม่ได้ แล้วแต่มันจะปรุงจะแต่ง บอกไม่ได้ ไหว้ไม่ฟัง
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าให้วางมันเสีย อย่าไปยึดถือมัน
ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง
ก็แม่นจิตนั่นแหละเป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอก
แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสีย ให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพานแหละ แน่ะ
พระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้น มันไม่อยู่ที่อื่น นรกมันก็อยู่นี่ พระนิพพานก็อยู่นี่ อย่าไปค้นที่อื่น อย่าไปพิจารณาที่อื่น ให้ค้นที่สกนธ์กายของตน ให้มันเห็นเป็นอสุภะอสุภัง ให้เห็นเป็นของปฏิกูล ให้เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายมันนั่นแหละ แต่กี้มันเห็นว่าเป็นของสวยของงามของดี
ดวงจิตนั่นเมื่อมีสติควบคุม มีสัมปชัญญะ ค้นหาเหตุผล ใคร่ครวญอยู่ มันเลยรู้เห็นว่า อัตตภาพร่างกายนี้เป็นของปฏิกูล ของเน่าเปื่อยผุพัง แล้วมันจะเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย จิตนั่นแหละเบื่อหน่าย
จิตเบื่อหน่าย จิตไม่ยึดมั่นแล้ว เรียกว่าจิตหลุดพ้น ถึงวิมุตติ วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากความยึดถือ หลุดพ้นจากอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น พ้นจากภพจากชาติ ตั้งใจทำเอา
หลวงปู่ขาว อนาลโย

ศาสนาพุทธไม่ห้ามการกินเนื้อสัตว์ แล้วฉะนั้นการกินเจ....ได้บุญจริงหรือ

ศาสนาพุทธไม่ห้ามการกินเนื้อสัตว์ 
แล้วฉะนั้นการกินเจ....ได้บุญจริงหรือ ?????
          ช่วงนี้เป็นเทศกาลกินเจ ทุกครั้งที่ถึงเทศกาลกินเจมักจะมีคนสองฝั่งออกมาถกเถียงกันเสมอว่า กินเจได้บุญจริง หรือเป็นเพียงกระแสนิยม เราลองมาสืบสาวราวเรื่องกันดูว่าพระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องนี้ไว้อย่างไร
          ย้อนกลับไปในช่วงพรรษาที่ ๓๗ ที่พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระศาสนา ครั้งนั้นพระเทวทัตได้กราบทูลพระศาสดาเสนอให้พระพุทธองค์ทรงเพิ่มวินัยสงฆ์ ๕ ข้อ คือ
          ๑. ให้ภิกษุอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าละแวกบ้านต้องมีโทษ
          ๒. ให้ภิกษุบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต ภิกษุใดรับนิมนต์ไปฉันตามบ้านต้องมีโทษ
          ๓. ให้ภิกษุใช้แต่ผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดรับจีวรที่เขาถวายต้องมีโทษ
          ๔. ให้ภิกษุอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าสู่ที่มุงต้องมีโทษ
          ๕. ให้ภิกษุงดฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันต้องมีโทษ
          พระผู้มีพระภาคสดับแล้วตรัสว่า "ดูก่อนเทวทัต ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ละแวกบ้านก็จงอยู่ในละแวกบ้าน ผู้ใดปรารถนาจะเที่ยวบิณฑบาตก็จงเที่ยวบิณฑบาต ผู้ใดปรารถนาจะรับนิมนต์ก็จงรับนิมนต์ ผู้ใดปรารถนาจะใช้ผ้าบังสกุล ก็จงใช้ผ้าบังสกุล ผู้ใดปรารถนาจะรับคฤหบดีจีวรก็จงรับคฤหบดีจีวร เราอนุญาตที่นอนที่นั่ง ณ โคนไม้ ตลอด ๘ เดือน ที่มิใช่ฤดูฝน เราอนุญาตเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือ เนื้อที่ไม่ได้เห็น เนื้อที่ไม่ได้ยิน เนื้อที่ไม่ได้รังเกียจ"
เนื้อสัตว์ ๓ อย่าง ที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ได้แก่
          ๑. เนื้อที่ไม่ได้เห็น คือ ไม่เห็นเขาฆ่าเนื้อนั้นเพื่อปรุงอาหารมาถวาย
          ๒. เนื้อที่ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินเขาบอกกันว่าฆ่าเนื้อนั้นเพื่อปรุงอาหารมาถวาย
          ๓. เนื้อที่ไม่ได้รังเกียจ คือ ไม่เป็นเนื้อที่รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อปรุงอาหารมาถวายโดยเฉพาะ
          เว้นจากเนื้อ ๓ ชนิดนี้แล้ว ภิกษุสามารถฉันได้ ไม่มีโทษ สรุปว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงห้าม และไม่ตำหนิ เรื่องการกินเนื้อ แต่ก็ไม่ได้สรรเสริญด้วย จึงสรุปไม่ได้ว่าการงดบริโภคเนื้อสัตว์โดยการกินเจนั้นได้บุญ

กินเจ แม้ไม่ได้บุญแต่ก็ไม่บาป
          กระต่าย หรือวัวควาย กินแต่หญ้า สัตว์เหล่านี้ได้บุญหรือเปล่า
          ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ บอกว่า บุญได้จาก การให้ทาน การรักษาศีล และการภาวนา ไม่ได้บอกเลยว่าบุญได้จากการไม่กินเนื้อสัตว์ แม้ขยายความเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แล้วก็ยังไม่มีส่วนไหนบอกว่าการไม่กินเนื้อสัตว์แล้วจะได้บุญ
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ได้แก่
          ๑. ทานมัย - ทำบุญด้วยการให้
          ๒. สีลมัย - ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
          ๓. ภาวนามัย - ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
          ๔. อปจายนมัย - ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
          ๕. เวยยาวัจจมัย - ทำบุญด้วยการช่วยเหลือขวนขวายงานที่ควร
          ๖. ปัตติทานมัย - ทำบุญด้วยการแบ่งส่วนบุญให้ผู้อื่น
          ๗. ปัตตานุโมทนามัย - ทำบุญด้วยการอนุโมทนาการทำบุญของผู้อื่น
          ๘. ธัมมัสสวนมัย - ทำบุญด้วยการฟังธรรม
          ๙. ธัมมเทสนามัย - ทำบุญด้วยการสอนธรรม
          ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ - ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกให้ตรง
          การกินเจไม่อยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ดังนั้น กระต่าย หรือวัวควาย จึงไม่ได้บุญจากการกินหญ้า และมนุษย์ก็ไม่ได้บุญจากการกินเจด้วย
          แต่การกินเจเป็นการงดการทำลายชีวิตสัตว์อื่นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  แม้จะไม่ได้บุญเพิ่มขึ้น  แต่ก็เป็นการไม่สร้างบาปเพิ่มขึ้นเหมือนกัน   อย่างน้อยการกินเจก็ได้ประโยชน์จากตรงนี้
กินเจอย่างไรจึงได้บุญ
          ไหนๆ ก็กินเจกันแล้ ว ตั้งใจอดรสดีรสอร่อยกันแล้ว  ก็ควรจะหาวิธีว่าทำอย่างไรการกินเจจึงจะได้บุญ
          ๑. กินเจด้วยจิตเมตตา
          ตั้งเจตนาว่าการที่เรากินเจนี้ เป็นเพราะเรามีเมตคาต่อเหล่าสัตว์ ไม่ปรารถนาเป็นผู้ปลงชีวิต หรือมีส่วนในการปลงชีวิตสัตว์อื่นเพื่อเป็นอาหารของเรา ด้วยเจตนาที่กอรปด้วยเมตตาอย่างนี้ทำให้การกินเจได้บุญ
          ๒. กินเจด้วยจิตต้องการละ
          รสอร่อยเป็นกามคุณอารมณ์อย่างหนึ่ง ทำให้ติดสุข อาหารเจส่วนใหญ่รสไม่อร่อย เพราะเป็นรสที่ไม่คุ้นเคย ทำให้กินได้น้อย จึงควรคิดว่าการกินเจนั้นเรากำลังละความอยาก ทำลายความอยาก ความยึดติดในรสชาดของอาหาร เรากำลังทำลายความข้องอยู่ในกามคุณอารมณ์ เรากำลังหลีกหนีกามสุขัลลิกานุโยค ความสุขความพอใจในกาม เรากินเพียงต้องการบำรุงธาตุขันธ์ให้ดำรงอยู่ได้เท่านั้น เจตนาอย่างนี้ทำให้การกินเจได้บุญ
           แต่หากใครกินเจแล้วยังเที่ยววิ่งหาอาหารเจรสอร่อย มีรูปร่างหน้าตาเหมือนเนื้อสัตว์จริงๆ อาหารเจร้านนี้ดี ย่านนั้นอร่อย จะกลายเป็นว่ากิเลสตัณหาเรื่องอาหารนั้นรุนแรงกว่าช่วงไม่กินเจเสียอีก เพราะปกติเวลากินอาหารคงไม่ค่อยเดือดร้อนกันเท่าไหร่ว่ารสชาดต้องเป็นอย่างนั้น หน้าตาอาหารต้องเป็นอย่างนี้ ต้องวิ่งไปกินกันแถวนี้ การกินเจอย่างนี้จึงไม่ได้บุญเลย
          ๓. พิจารณาอาหารเจเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา
          ในเมื่ออาหารก็ไม่อร่อยแล้ว ควรถือโอกาสนี้พิจารณาเสียเลยว่าอาหารเป็นเพียงปฏิกูล เป็นของน่ารังเกียจ ไม่สะอาด เป็นของโสโครก ไหลเข้า ต่อไปก็จะไหลออก ลองพิจารณาดูว่าเมื่ออาหารเข้าปากเคี้ยวแล้วคายออกมายังน่าดูน่ากินอยู่อีกไหม พิจารณาแล้วก็คลายความรู้สึกติดใจ อยากได้ อยากมี อยากกิน ออกเสีย การกินเจด้วยการพิจารณาเนืองๆ อย่างนี้จึงได้บุญ
          ๔. พิจารณาอาหารว่าเป็นเพียงแค่ธาตุ
          ลองพิจารณาดูว่าอาหารเจไม่ใช่อะไรเลย เป็นเพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม มาประชุมรวมกัน เหมือนกับร่างกายเรานี้ที่เป็นผู้บริโภคก็ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหมือนกัน พิจารณาอย่างนี้จึงได้บุญ
          ๔. พิจารณาให้เท่าทันไตรลักษณ์
          พิจารณาว่าอาหารทั้งหลายก่อนจะมาถึงเรา ข้าวก็เกิดจากต้น เป็นเม็ดเป็นรวง เขาเก็บมานวดมาขัดมาสีจึงกลายเป็นข้าวสาร นำมาต้มมาปรุงเป็นข้าวสวยข้าวสุก เรากินเข้าไปแล้วก็จะย่อยสลาย ขับถ่ายออกมาคืนสู่ดิน คืนสู่ธรรมที่เป็นจริง อาหารจึงเป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วคราว แล้วดับไป กายของเรานี้ก็เหมือนกันไม่เที่ยงเลย เกิดขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ชั่วขณะ ในที่สุดก็จะดับสลายไป ขณะที่อยู่ก็มีแต่ทุกข์ ทุกข์เพราะอยากได้ อยากมี อยากเป็น จะห้ามไม่ให้ทุกข์ก็ไม่ได้ จะบังคับให้มีแต่สุขก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้บุบสลายเจ็บป่วยล้มตายก็ไม่ได้ ร่างกายไม่อยู่ในบังคับของเราเลย เพราะกายนี้ไม่ใช่เรา กายนี้ไม่เป็นของเรา พิจารณาอย่างนี้จึงได้บุญ
          ๕. รักษาศีลภาวนา
          การกินเจเป็นเทศกาลสั้นๆ ไหนๆ ก็พยายามละกิเลสด้วยการกินเจแล้ว ในเทศกาลอย่างนี้ควรถือโอกาสรักษาศีลให้เคร่งครัด และหัดภาวนากันเสียด้วย ถือโอกาสขัดเกลากิเลสและยกระดับภูมิจิตภูมิธรรมให้สูงขึ้น กินเจอย่างนี้จึงได้บุญ
ที่มาข้อมูล : http://www.dhamma4u.com/index.php/2011-01-07-08-29-00/41-2008-11-18-07-46-11/551-2009-10-19-04-11-33.html

อานิสงส์การถวายผ้าไตร



อานิสงส์การถวายผ้าไตร

อานิสงส์ถวายผ้าไตรจีวร พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
"ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดได้เคยถวายผ้าไตรจีวรไว้ในพระพุทธศาสนา ถ้าไปเกิดเป็นผู้หญิงจะมีเครื่องลดามหาปสาธน์อย่างนางวิสาขา"

คำว่า "เครื่องลดามหาปสาธน์" นี่ ด้ายไม่มี มีแต่ทองคำ เป็นทองคำล้วน แขกเขาคลุมตั้งแต่ศีรษะยันข้อเท้า และข้างบนก็มีนกยูงประดับเพชร ๒๐ ทะนาน และแก้ว ๗ ประการอีกต่างหาก ราคาเวลานั้นทั้งหมด ๑๖ โกฏิ อย่าลืมนะญาติโยมทั้งหลาย ที่ถวายผ้าไตรจีวรเป็นอย่างนั้น ถ้าเกิดเป็นคน ถ้าเกิดเป็นเทวดาเป็นนางฟ้าก็มีเครื่องแต่งตัวสวยมาก ทีนี้ถ้าผู้ชายก็จะไม่มีเครื่องลดามหาปสาธน์ แต่ทว่าเมื่อเวลาบรรลุอรหันต์ก็ดี หรือต้องการบวชในพระพุทธศาสนาก็ดี ถ้าพบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะทรงเรียก "เอหิภิกขุ" ซึ่งแปลว่า "เจ้าจงเป็นภิกษุมาเถิด" เพียงเท่านี้ ผ้าไตรจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์จะลอยมาจากอากาศสวมร่างกายทันที นี่ผู้ชาย

อานิสงส์ไวยาวัจกร

คำว่า "ไวยาวัจกร" หมายความว่า คนที่ช่วยงานในการกุศลทุกอย่าง จะเป็นงานกฐินนี่ก็ดี จะเป็นงานอย่างอื่นก็ตาม เวลาตายจากความเป็นคน เฉพาะ "ไวยาวัจกร" นะ จะมีอานิสงส์ตํ่ากว่าเณรที่มีศีลบริสุทธิ์นิดหน่อย คือว่าเณรที่มีศีลบริสุทธิ์ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดา จะมีบริวารหนื่งหมื่นคน ลงมาก็ "ไวยาวัจกร" เมื่อตายจากความเป็นคนจะเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้าก็ตาม จะมีบริวารแปดพันคน นี่เฉพาะไวยาวัจกรนะ!

อานิสงส์ของการช่วยขนของสังฆทาน

เออ...นี่พูดถึงเรื่องพวกช่วยขนของ เกี่ยวกับ "อธิษฐานบารมี" อย่าง พระเจ้าจัณทปัชโชต ใช่ไหม พระเจ้าจัณทปัชโชตินี่ท่านช่วยเขาหยิบข้าวไปให้ใส่บาตรพระเที่ยวเดียวนะ วิ่งมาดูแล้วก็เอาไป เพียงเท่านี้ ท่านอธิษฐาน
"ในฐานะที่ข้าพเจ้าวิ่งไปวิ่งมาด้วยความเร็ว เกิดไปชาติหน้าขอให้มีพาหนะเร็วที่สุด..."
และต่อมาก็มีช้างเดินได้วันละ ๑๒๐ โยชน์ มีม้าวิ่งได้วันละ ๘๐ โยชน์ ไปเป็นเทวดามาก่อนนะ และแถมลงมาจากเทวดาเป็นพระราชาด้วยนะ นั่นเที่ยวเดียวนะ และไอ้พวกนี้กี่เที่ยวล่ะ! ไอ้บุญนี่สั่งสมทีละน้อยๆ ไม่ใช่เรื่องเล็ก เรื่องใหญ่มาก...
ทีนี้อานิสงส์ที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทถวายเงิน กับถวายสังฆทานในงานกฐิน เงินนี่ทำบุญได้ ๒ อย่าง คืออาตมาจะใช้เป็น ๒ อย่าง คือ เป็น "สังฆทาน" ในงานกฐินด้วย และก็จะเป็น "วิหารทาน" ด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ให้บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทได้อานิสงส์มากๆ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
"การถวายทานแด่พระอรหันต์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่าถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
ถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง จะมีผลไม่เท่าถวายทานแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
ถวายทานแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่าถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง"
ทีนี้สำหรับกฐินเป็นสังฆทานพิเศษ มีอานิสงส์มากกว่าสังฆทานธรรมดามาก เพราะมีเวลาจำกัด จะถวายได้เฉพาะตั้งแต่แรมคํ่า ๑ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ฉะนั้นจึงมีอานิสงส์มากกว่าสังฆทานธรรมดา
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง" นี่ก็หมายความว่าญาติโยมพุทธบริษัททุกคนนี่จะได้บุญทั้ง ๒ อย่าง คือ:-
๑. อานิสงส์กฐิน เป็นสังฆทานใหญ่
และประการที่ ๒ เป็นวิหารทาน เงินของท่านจะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นอานิสงส์กฐิน อีกส่วนหนึ่งจะนำไปทำการก่อสร้างเพื่อเป็นวิหารทาน คนที่ถวายสังฆทานนี่ถ้าตายจากความเป็นคน จะมีวิมานสวยมากใหญ่มาก ถ้าเกิดมาเป็นคนใหม่ ก็จะมีบ้านใหญ่ บ้านสวยรวยทรัพย์ โดยเฉพาะสังฆทาน มีบ้านใหญ่เฉพาะวิหารทาน

ผลบุญของแม่บัวใส

ผลบุญของแม่บัวใส
แม่บัวใสได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2522
พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโปอยากทราบว่านางไปอยู่ที่ใด . ..
วันหนึ่งท่านได้กำหนดจิต ไปดูที่ปราสาทจตุรมุขรูปทรงเจดีย์....
ซึ่งท่านเคยมาครั้งหนึ่ง เมื่อสร้างเจดีย์ที่วัดอรัญวิเวก บ้านปง เสร็จ ..
ครั้งนี้ท่านได้เห็นบริเวณโดยรอบของปราสาท มีหญ้าอ่อนนุ่ม . เหมือนหญ้านวลน้อยสีทอง ขึ้นเต็มไปหมด มีแถวกุหลาบปลูกเรียงรายเป็นแถวสุดสายตา...
ปรากฏมีเทพธิดานางหนึ่งเดินลงมาจากปราสาทสีทอง (แต่งกายด้วยชุดสีเขียว เสื้อแขนทรงกระบอก ,ห่มผ้าสไบสีเขียวอ่อน ) และเข้ามากราบพระอาจารย์เปลี่ยน..
พร้อมกับถามว่ามาเยี่ยมแม่หรือ พระอาจารย์เปลี่ยนได้ให้ เทพธิดานั้นนิรมิตกายเป็นแม่บัวใสเมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ให้ดู
จึงแน่ใจว่าไม่ผิดตัว ท่านจึงต่อว่าแม่บัวใสที่ไม่ลงไปเยี่ยม ที่วัดเลย นางเทพธิดาจึงบอกว่า บนสวรรค์สุขสบายมาก
จึงไม่อยากไปไหนบนสวรรค์มีความสุขสบายเกินกว่าที่เคยคาดไว้
ทำให้เพลิดเพลินเจริญใจจนลืมตัว ลืมนึกถึงเรื่องราวยุ่งยากนานานัปการที่เคยประสบบนโลกมนุษย์อย่างน่าแปลก
ถ้าลูกไม่ขึ้นมาให้เจอบนสวรรค์แม่คงยังไม่นึกถึงแน่นอน ...
เมื่อยังมีชีวิตอยู่เวลาไปวัดทุกวันพระแม่บัวใสจะมีดอกไม้ถือติดมือไปจำนวนมาก
และจะจัดหาน้ำปานะเลี้ยงพระเณรด้วย..
นอกจากนั้นจะพิถีพิถันในเรื่องความสะอาด และความเป็นระเบียบ สวยงาม จะปัดกวาดดูแลวัด และสถานที่ ให้เรียบร้อยตลอดเวลา
แม่บัวใสเป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี ถ้ามีคนจนไปวัดจะแจกเงิน และเรียกให้รับประทานข้าวปลาอาหารร่วมกัน ..
เมื่อนางจะเดินทางไปทำบุญที่ใดจะมีผู้มาขอร่วมทำบุญด้วยเสมอ
บางคนเห็นนางกำลังเตรียมของเพื่อทำบุญก็จะมอบเงินไว้ให้ร่วมทำบุญ
บางคนถึงกับอธิษฐาน...ขอเกิดเป็นลูกบัวใสเลยก็มี ..
แม่บัวจันทร์ น้องของแม่บัวใส ถือศีลเฉพาะวันพระ โดยถืออุโบสถศีล เมื่อสิ้นชีวิตไป ได้ไปสถิตย์อยู่ชั้นสวรรค์ชั้นตาวติงสา ...
แม่บัวคำน้องอีกคนหนึ่ง ได้ใส่บาตรและอุปัฏฐากหลวงปู่แหวนเป็นประจำ จนหลวงปู่แหวนไปอยู่ดอยแม่ปั๋ง... ..แม่บัวคำยังตามไปอุปัฏฐาก
แต่เป็นผู้ละความโกรธไ ม่ได้ ใจคอหงุดหงิดตลอดเวลา ความโกรธทำให้จิตตกต่ำ จึงไปได้ไม่ดีนักเมื่อสิ้นชีวิตจึงอยู่ชั้นตาวติงสา..
พระอาจารย์เปลี่ยนเล่าว่า ปกติเวลาเทพบุตร เทพธิดา จะจุติลงมาเป็นมนุษย์ ทุกองค์มีความตั้งใจจะลงมาสร้างคุณงามความดี เพื่อยกภูมิ ของตนให้สูงขึ้น
แต่พอมาเป็น...มนุษย์จะลืม และหลงไปใน อบายมุขในโลก..
ไม่สร้างกรรมดีตามที่ตั้งใจ ..ซ้ำกลับต้องตกต่ำลงกว่าที่ตนเคยเสวยสุขอยู่เสียอีก
บนสวรรค์เมืองแมนแดนสวรรค์ท่านว่าสุขทุกขณะจิต ..
ส่วนผู้เสวยบาปต้องลงนรก ลำพังความเดือดร้อนจากไฟนรกก็แสนสาหัส.
ไม่ต้องถูกลงทัณฑ์ ทรมาน ชาวนรกก็พูดไม่ออกบอกไม่ถูกกันอยู่แล้ว ...
ในนรกท่านก็ว่าเป็นทุกข์ไม่มีเวลาสุข ทุกขณะจิตเช่นกัน
อุปมาคนเอาค้อนทุบพราดโดนหัวแม่โป้ง ตนเองก็เต็มรัก ทุกทรมานสาหัสจนลืมญาติทีเดียว เอวัง