วิธีทำสมาธิ อานาปานสติ
โดย ; พระพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร )
มีข้อสำคัญอยู่ ๗ ข้อ
โดย ; พระพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร )
มีข้อสำคัญอยู่ ๗ ข้อ
๑. ให้ภาวนา พุท ลมเข้ายาว ๆ โธ ลมออกยาว ๆ ก่อน ๓ ครั้ง หรือ ๗ ครั้ง (คำภาวนากับลมหายใจยาวเท่ากัน )
๒. ให้รู้จักลมเข้าลมออกโดยชัดเจน
๓. ให้รู้จักสังเกตลมในเวลาเข้าออกว่า มีลักษณะอย่างไร สบายหรือไม่สบาย กว้างหรือแคบ
ขัดหรือสะดวก ช้าหรือเร็ว สั้นหรือยาว ร้อนหรือเย็น ถ้าไม่สบายก็ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข
จนได้รับความสะดวกสบาย เช่นเข้ายาวออกยาวไม่สบายก็ให้เปลี่ยนเป็นเข้าสั้นออกสั้น เป็นต้น
จนกว่าจะได้รับความสบาย เมื่อได้รับความสะดวกสบายดีแล้ว ให้กระจายลมที่สบายนั้น
ไปในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สูดลมไปที่ท้ายทอย ปล่อยลมลงไปในกระดูกสันหลัง
ให้ตลอด ถ้าเป็นเพศชายให้ปล่อยไปตามขาขวาทะลุถึงปลายเท้า แล้วกระจายลมไปในอากาศ
แล้วกลับมาสูดใหม่ ปล่อยเข้าไปในท้ายทอยปล่อยลงไปในกระดูกสันหลัง ปล่อยไปตามขาซ้าย
ทะลุถึงปลายเท้าแล้วกระจายไปในอากาศ แล้วก็กลับมาปล่อยตั้งแต่ท้ายทอยผ่านไหล่ทั้งสอง
ถึงข้อศอก ข้อมือ ทะลุถึงปลายนิ้ว กระจายไปในอากาศ แล้วก็ปล่อยลงคอหอย กระจายไปที่ ขั้วปอด ขั้วตับ กระจายเรื่อยลงไปจนถึงกระเพาะเบา กระเพาะหนัก แล้วก็สูดลมหายใจเจ้าไปตรงกลางอก ทะลุไปถึงลำใส้ กระจายลมสบายเหล่านี้
ให้ทั่วถึงกันได้ จะได้รับความสะดวกสบายขึ้นมาก (ถ้าเป็นเพศหญิงให้กระจายลม
ไปทางซ้ายก่อน เพราะเพศหญิงและชายเส้นประสาทต่างกัน )
๔.ให้รู้จักขยายลมออกเป็น ๔ แบบ คือ
๑) เข้ายาวออกยาว
๒) เข้าสั้นออกสั้น
๓ ) เข้าสั้นออกยาว
๔) เข้ายาวออกสั้น
แบบใดเป็นที่สบายให้เอาแแบบนั้น หรือทำให้สบายได้ทุกแบบยิ่งดี เพราะสภาพของบุคคล
ลมหายใจย่อมเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา
๕. ให้รู้จักที่ตั้งของจิต ฐานไหนเป็นที่สบายของตัวให้เลือกเอาฐานนั้น (คนที่เป็นโรคเส้นประสาทปวดหัว ห้ามตั้งฐานบน ให้ตั้งอย่างสูงตั้งแต่คอหอยลงไป
และห้ามสะกดจิตสะกดลม ให้ปล่อยลมตามสบาย ปล่อยใจตามลมเข้าออกให้สบาย
แต่อย่าให้หนีไปจากวงของลม ) ฐานเหล่านั้นได้แก่ ๑/ปลายจมูก ๒/กลางศรีษะ
๓/เพดาน ๔/คอหอย ๕/ ลิ้นปี่ ๖/ศูนย์ (สะดือ) นี้คือฐานโดยย่อ คือที่พักของลม
๖. ให้รู้จักขยายจิต คือทำความรู้สึกให้กว้างขวางออกไปทั่วสรรพางค์กาย
๗. ให้รูจักประสานลม และขยายจิตออกให้กว้างขวาง ให้รู้ส่วนต่าง ๆ ของลม
ซึ่งมีอยู่ในร่างกายนั้นก่อนแล้ว จะรู้ได้ในส่วนอื่น ๆ ทั่วไปอีกมาก คือธรรมชาติ
ลมมีหลายจำพวก ลมเดินในเส้นประสาท ลมเดินหุ้มเส้นประสาททั่ว ๆไป
ลมกระจายออกจากเส้นประสาทแล่นแทรกแซงไปทั่วขุมขน ลมให้โทษ
และให้คุณย่อมมีปนอยู่โดยธรรมชาติ.
๒. ให้รู้จักลมเข้าลมออกโดยชัดเจน
๓. ให้รู้จักสังเกตลมในเวลาเข้าออกว่า มีลักษณะอย่างไร สบายหรือไม่สบาย กว้างหรือแคบ
ขัดหรือสะดวก ช้าหรือเร็ว สั้นหรือยาว ร้อนหรือเย็น ถ้าไม่สบายก็ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข
จนได้รับความสะดวกสบาย เช่นเข้ายาวออกยาวไม่สบายก็ให้เปลี่ยนเป็นเข้าสั้นออกสั้น เป็นต้น
จนกว่าจะได้รับความสบาย เมื่อได้รับความสะดวกสบายดีแล้ว ให้กระจายลมที่สบายนั้น
ไปในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สูดลมไปที่ท้ายทอย ปล่อยลมลงไปในกระดูกสันหลัง
ให้ตลอด ถ้าเป็นเพศชายให้ปล่อยไปตามขาขวาทะลุถึงปลายเท้า แล้วกระจายลมไปในอากาศ
แล้วกลับมาสูดใหม่ ปล่อยเข้าไปในท้ายทอยปล่อยลงไปในกระดูกสันหลัง ปล่อยไปตามขาซ้าย
ทะลุถึงปลายเท้าแล้วกระจายไปในอากาศ แล้วก็กลับมาปล่อยตั้งแต่ท้ายทอยผ่านไหล่ทั้งสอง
ถึงข้อศอก ข้อมือ ทะลุถึงปลายนิ้ว กระจายไปในอากาศ แล้วก็ปล่อยลงคอหอย กระจายไปที่ ขั้วปอด ขั้วตับ กระจายเรื่อยลงไปจนถึงกระเพาะเบา กระเพาะหนัก แล้วก็สูดลมหายใจเจ้าไปตรงกลางอก ทะลุไปถึงลำใส้ กระจายลมสบายเหล่านี้
ให้ทั่วถึงกันได้ จะได้รับความสะดวกสบายขึ้นมาก (ถ้าเป็นเพศหญิงให้กระจายลม
ไปทางซ้ายก่อน เพราะเพศหญิงและชายเส้นประสาทต่างกัน )
๔.ให้รู้จักขยายลมออกเป็น ๔ แบบ คือ
๑) เข้ายาวออกยาว
๒) เข้าสั้นออกสั้น
๓ ) เข้าสั้นออกยาว
๔) เข้ายาวออกสั้น
แบบใดเป็นที่สบายให้เอาแแบบนั้น หรือทำให้สบายได้ทุกแบบยิ่งดี เพราะสภาพของบุคคล
ลมหายใจย่อมเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา
๕. ให้รู้จักที่ตั้งของจิต ฐานไหนเป็นที่สบายของตัวให้เลือกเอาฐานนั้น (คนที่เป็นโรคเส้นประสาทปวดหัว ห้ามตั้งฐานบน ให้ตั้งอย่างสูงตั้งแต่คอหอยลงไป
และห้ามสะกดจิตสะกดลม ให้ปล่อยลมตามสบาย ปล่อยใจตามลมเข้าออกให้สบาย
แต่อย่าให้หนีไปจากวงของลม ) ฐานเหล่านั้นได้แก่ ๑/ปลายจมูก ๒/กลางศรีษะ
๓/เพดาน ๔/คอหอย ๕/ ลิ้นปี่ ๖/ศูนย์ (สะดือ) นี้คือฐานโดยย่อ คือที่พักของลม
๖. ให้รู้จักขยายจิต คือทำความรู้สึกให้กว้างขวางออกไปทั่วสรรพางค์กาย
๗. ให้รูจักประสานลม และขยายจิตออกให้กว้างขวาง ให้รู้ส่วนต่าง ๆ ของลม
ซึ่งมีอยู่ในร่างกายนั้นก่อนแล้ว จะรู้ได้ในส่วนอื่น ๆ ทั่วไปอีกมาก คือธรรมชาติ
ลมมีหลายจำพวก ลมเดินในเส้นประสาท ลมเดินหุ้มเส้นประสาททั่ว ๆไป
ลมกระจายออกจากเส้นประสาทแล่นแทรกแซงไปทั่วขุมขน ลมให้โทษ
และให้คุณย่อมมีปนอยู่โดยธรรมชาติ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น