.....""พระกังขาเรวตเถระ"".....
(เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ)
(เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ)
..........พระกังขาเรวตะ เป็นบุตรเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี เดิมชื่อว่า “เรวตะ” เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังมิเคยเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมกถามาก่อนเลย คงเป็นด้วยอุปนิสัยวาสนาบารมีเก่าส่งเสริม
...."แอบนั่งฟังธรรมท้ายสุด".....
...........ต่อมาได้เห็นอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ถือดอกไม้ธูปเทียน เครื่องสักการะและของหอม ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร จึงติดตามไปด้วยแล้วนั่งอยู่ท้ายสุด หมู่พุทธบริษัท เพราะตนเองเป็นผู้ใหม่ รอเวลาที่พระบรมศาสดาจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาโดยปกติธรรมดาของพระผู้มีพระภาค ทุกครั้งก่อนที่พระองค์จะแสดงธรรม จะทรงพิจารณาตรวจดูอุปนิสัยของพุทธบริษัทที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นว่าผู้ใดมีบุญวาสนาบารมีสั่งสมบารมี ซึ่งพอจะเป็นปัจจัยส่งผลให้บรรลุคุณธรรมพิเศษบ้างหรือไม่ และพิจารณาว่าธรรมหมวดไหนเหมาะสมแก่ฟังนั้น ๆ เมื่อทรงพิจารณาไปโดยรอบ ก็ทอดพระเนตรเห็นเรวตมาณพ เข้าสู่ข่ายคือ พระญาณของพระองค์ ว่าเป็นผู้มีอุปนิสัยบารมีสั่งสมมาดีแต่อดีตชาติ สามารถจะบรรลุมรรคผลได้ จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถา เพื่อขัดเกล่าอุปนิสัยให้สะอาดหมดจด
ปราศจากความยินดีในกามคุณที่เคยบริโภคใช้สอยมาก่อน
ใจความในอนุปุพพิกถา ถือถ้อยคำที่กล่าวไปโดยลำดับ ๕ ประการ คือ
...........ต่อมาได้เห็นอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ถือดอกไม้ธูปเทียน เครื่องสักการะและของหอม ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร จึงติดตามไปด้วยแล้วนั่งอยู่ท้ายสุด หมู่พุทธบริษัท เพราะตนเองเป็นผู้ใหม่ รอเวลาที่พระบรมศาสดาจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาโดยปกติธรรมดาของพระผู้มีพระภาค ทุกครั้งก่อนที่พระองค์จะแสดงธรรม จะทรงพิจารณาตรวจดูอุปนิสัยของพุทธบริษัทที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นว่าผู้ใดมีบุญวาสนาบารมีสั่งสมบารมี ซึ่งพอจะเป็นปัจจัยส่งผลให้บรรลุคุณธรรมพิเศษบ้างหรือไม่ และพิจารณาว่าธรรมหมวดไหนเหมาะสมแก่ฟังนั้น ๆ เมื่อทรงพิจารณาไปโดยรอบ ก็ทอดพระเนตรเห็นเรวตมาณพ เข้าสู่ข่ายคือ พระญาณของพระองค์ ว่าเป็นผู้มีอุปนิสัยบารมีสั่งสมมาดีแต่อดีตชาติ สามารถจะบรรลุมรรคผลได้ จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถา เพื่อขัดเกล่าอุปนิสัยให้สะอาดหมดจด
ปราศจากความยินดีในกามคุณที่เคยบริโภคใช้สอยมาก่อน
ใจความในอนุปุพพิกถา ถือถ้อยคำที่กล่าวไปโดยลำดับ ๕ ประการ คือ
๑. ทานกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของการบริจาคทาน
๒. สีลกถา กล่าวถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๓. สัคคกถา กล่าวถึงเรื่องสวรรค์อันอุดมด้วยทิพยสมบัติ
๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกามคุณ ๕ ว่าเป็นเหตุนำทุกข์มาให้
๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของการออกบวชว่า เป็นอุบายที่จะให้บรรลุพระนิพพานอันเป็นบรมสุข
๒. สีลกถา กล่าวถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๓. สัคคกถา กล่าวถึงเรื่องสวรรค์อันอุดมด้วยทิพยสมบัติ
๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกามคุณ ๕ ว่าเป็นเหตุนำทุกข์มาให้
๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของการออกบวชว่า เป็นอุบายที่จะให้บรรลุพระนิพพานอันเป็นบรมสุข
..........เมื่อจบพระธรรมเทศนา เรวตมาณพก็เกิดศรัทธาแก่กล้ายิ่งขึ้น จึงกราบทูลขออุปสมบทในพุทธศาสนา พระพุทธองค์ประทานให้ตามประสงค์ ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาพระกรรมฐานจากพระบรมศาสดาแล้วปลีกตัวอยู่ในสถานที่อันสงบสงัด อุตสาห์บำเพ็ญเพียรพระกรรมฐานจนได้บรรลุโลกิยฌาน แล้วทำฌานที่ได้แล้วนั้น ให้เป็นพื้นฐานในการเจริญ
วิปัสสนา ไม่ช้านักท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวกิเลส เป็นพระอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา
วิปัสสนา ไม่ช้านักท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวกิเลส เป็นพระอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา
.....""เหตุที่ได้นามว่ากังขาเรวตะ"".....
...........พระเรวตะนั้น ภายหลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ขณะที่ท่านยังเป็นปุถุชนยังมิได้บรรลุพระอรหัตผล เมื่อท่านได้รับกัปปิยวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ สิ่งใด ๆ มาแล้ว ท่านมักจะคิดกังขาคือ สงสัยก่อนเสมอว่า ของสิ่งนี้เป็นของถูกต้องพุทธบัญญัติ สมควรแก่บรรพชิตที่จะใช้สอยหรือไม่
...........พระเรวตะนั้น ภายหลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ขณะที่ท่านยังเป็นปุถุชนยังมิได้บรรลุพระอรหัตผล เมื่อท่านได้รับกัปปิยวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ สิ่งใด ๆ มาแล้ว ท่านมักจะคิดกังขาคือ สงสัยก่อนเสมอว่า ของสิ่งนี้เป็นของถูกต้องพุทธบัญญัติ สมควรแก่บรรพชิตที่จะใช้สอยหรือไม่
(กัปปิยะ= เป็นของควร, อกัปปิยะ = เป็นของไม่ควร)
..........เมื่อท่านพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าเป็นของที่บรรพชิตบริโภคใช้สอยได้ไม่ผิดพระวินัย ท่านจึงใช้สอยของสิ่งนั้น ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มักสงสัยอยู่เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันทั่วไปในหมู่พระภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น คำว่า
“กังขา” จึงถูกเรียกรวมกับชื่อเดิมของท่านว่า “กังขาเรวตะ หมายถึง พระเราวตะผู้ชอบสงสัย” แม้ว่าภายหลังท่านได้บรรลุพระอรหัตผล สิ้นกิเลสอันเป็นเหตุแห่งวิจิกิจฉา คือความลังเล สงสัยแล้วก็ตาม นามว่ากังขาเรวตะ ก็ยังเป็นที่เรียกขานของเพื่อนสหธรรมิกอยู่ตลอดไป
“กังขา” จึงถูกเรียกรวมกับชื่อเดิมของท่านว่า “กังขาเรวตะ หมายถึง พระเราวตะผู้ชอบสงสัย” แม้ว่าภายหลังท่านได้บรรลุพระอรหัตผล สิ้นกิเลสอันเป็นเหตุแห่งวิจิกิจฉา คือความลังเล สงสัยแล้วก็ตาม นามว่ากังขาเรวตะ ก็ยังเป็นที่เรียกขานของเพื่อนสหธรรมิกอยู่ตลอดไป
.....""ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ"".....
..........พระกังขาเรวตะ เป็นผู้มีความชำนาญในฌานสมาบัติ ทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ แม้กระทั่งฌานสมาบัติอันเป็นพุทธวิสัย คือ ฌานสมาบัติที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นจะพึงเจริญ มิได้ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ด้วยว่า ความสุขอันเกิดจากฌานสมาบัตินั้น ไม่มีโลกิยสุขใด ๆ ใน
โลกจะเทียบเท่าได้เลย เรียกว่า “สันติสุข คือ สุขที่เกิดจากความสงบ” ส่วนสุขอันเป็นโลกีย์นั้นต้องพึ่งพิงอิงอาศัยอามิสต่าง ๆ อันได้แก่ บุคคล สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น เข้ามาช่วยให้เกิดความสุข และความสุขแบบโลกีย์นี้ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะเมื่อยามที่ยังมีอยู่ ก็รู้สึกเป็นสุข แต่เมื่อยามสิ่งของเหล่านั้นอันตรธานหรือชำรุดเสียหายไปก็จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แต่ความสุขอันเกิดจากฌานสมาบัตินั้นเป็นสุขที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเป็นสุขที่เกิดจากความไม่มีทุกข์ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เพ่งด้วยฌาน, ผู้ยินดีในฌานสมาบัติ
..........พระกังขาเรวตะ เป็นผู้มีความชำนาญในฌานสมาบัติ ทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ แม้กระทั่งฌานสมาบัติอันเป็นพุทธวิสัย คือ ฌานสมาบัติที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นจะพึงเจริญ มิได้ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ด้วยว่า ความสุขอันเกิดจากฌานสมาบัตินั้น ไม่มีโลกิยสุขใด ๆ ใน
โลกจะเทียบเท่าได้เลย เรียกว่า “สันติสุข คือ สุขที่เกิดจากความสงบ” ส่วนสุขอันเป็นโลกีย์นั้นต้องพึ่งพิงอิงอาศัยอามิสต่าง ๆ อันได้แก่ บุคคล สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น เข้ามาช่วยให้เกิดความสุข และความสุขแบบโลกีย์นี้ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะเมื่อยามที่ยังมีอยู่ ก็รู้สึกเป็นสุข แต่เมื่อยามสิ่งของเหล่านั้นอันตรธานหรือชำรุดเสียหายไปก็จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แต่ความสุขอันเกิดจากฌานสมาบัตินั้นเป็นสุขที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเป็นสุขที่เกิดจากความไม่มีทุกข์ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เพ่งด้วยฌาน, ผู้ยินดีในฌานสมาบัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น