วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ลำดับของเนื้อคู่ที่จะมาเป็นคู่ครองกัน
.ท่านพ่อลี ธมฺมธโร สอนนั่งสมาธิ
.ท่านพ่อลี ธมฺมธโร สอนนั่งสมาธิ
..จะขอแนะนำหลักในการนั่งสมาธิ ของท่านผุ้ที่มาใหม่ยังไม่เคยทำ พอให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ ๑.ให้ตั้งใจว่าเรื่องราวอะไรทั้งหมด เราจะไม่เก็บมานึกคิด จะนึกถึงแต่พุทธคุณอย่างเดียว คือ พุทโธ ๒.ตั้งสติกำหนดนึกถึงลมหายใจเข้าว่า พุท ออกว่า โธ หรือจะนึก พุทโธๆ อยู่ที่ใจอย่างเดียวก็ได้ ๓.ทำจิตให้นิ่ง แล้วทิ้งคำภาวนา พุทโธ เสีย ให้สังเกตแต่ลมที่หายใจเข้าออกอย่างเดียว เหมือนกับเรายืนเฝ้าดูวัวของเราอยู่ที่หน้าประตูคอก ว่าวัวที่เดินเข้าไปและออกมานั้น มันเป็นวัวสีอะไร สีดำ แดง ขาว ด่าง วัวแก่หรือวัวหนุ่ม เป็นลูกวัวหรือวัวกลางๆ แต่อย่าไปเดินตามวัวเข้าไปด้วย เพราะมันจะเตะขาแข้งหักหรือขวิดเอาตาย ให้ยืนดูอยู่ตรงหน้าประตูแห่งเดียว หมายความว่า ใ้ห้จิตตั้งนิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ต้องเคลื่อนไหวไปกับลม ๔.ที่ว่าให้สังเกตลักษณะของวัวก็คือให้รู้จักสังเกตว่า ลมเข้าสั้นออกสั้นดี หรือลมเข้ายาวออกยาวดี ลมเข้ายาวออกสั้นดี หรือลมเข้าสั้นออกยาวดี ให้รู้ลักษณะของลมว่าอย่างไหนเป็นที่สบาย ก็ทำอย่างนั้นเรื่อยไป ๕.ต้องทำให้ได้อย่างนี้ทั้ง ๓ เปราะ คือ เปราะแรกภาวนา พุทโธๆ ตั้งใจนึกด้วยสติหรือด้วยใจ เปราะที่ ๒ ให้สติอยู่กับลมเข้า พุท ลมออก โธ ไม่ลืมไม่เผลอ และเปราะที่ ๓ จิตนิ่ง ทิ้ง พุทโธ เสีย สังเกตแต่ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ๖.เมื่อทำได้เช่นนี้ ใจของเราก็จะนิ่ง ลมก็นิ่งเหมือนขันน้ำที่ลอยอยู่ในโอ่ง น้ำก็นิ่ง ขันก็นิ่ง เพราะไม่มีใครไปกด ไปเอียง ไปกระแทกมัน ขันนั้นก็จะลอยเฉยเป็นปกติอยู่บนพื้นน้ำ เหมือนกับเราขึ้นไปนั่งอยู่บนยอดเขาสูงๆ หรือขึ้นไปลอยอยู่เหนือเมฆ ใจของเราก็จะได้รับแต่ความสุขเยือกเย็น นี้ท่านเรียกว่า มหากุศล คือเป็น ยอด แก่น หรือรากเง้า ของกุศลทั้งหลาย ๗.ที่ว่าเป็น รากเง้า ก็เพราะมันลึกและแน่น คือเป็นความดีส่วนลึกที่อยู่ในดวงจิตของเราซึ่องอยู่ตรงกลางตัว ที่ว่าเป็นแก่น ก็เพราะมันเป็นของมั่น แข็ง และเหนียว เหมือนกับแก่นไม้ซึ่งมีความเหนียวและมั่นคง มอดก็ไม่สามารถมาเจาไชให้ผุได้ ถึงมันจะมาแทะได้บ้่างก็เพียงแค่เปลือกนอกหรือกระพี้เท่านั้น คือนิวรณ์ทั้งหลายจะมารบกวนได้ก็เพียงแค่อายตนะภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่นรูปมากระทบตา มันก็อยู่แค่ตาไม่เข้าไปถึงใจ เสียงมากระทบหู มันก็อยู่แค่หูไม่เข้าถึงใจ กลิ่นมากระทบจมูก ก็อยู่แค่จมูก ไม่เข้าถึงใจ จึงเรียกความดีส่วนนี้ว่าเป็นแก่นบุญ เพราะความชั่วทั้งหลายไม่สามารถจะมาทำลายจิตใจที่มั่นคงนี้ให้เสียไปได้ง่ายๆ เหมือนไม้แก่นที่ตัวมอดไม่อาจกัดกินให้ผุได้ ฉันนั้น ๘.ที่ว่ายอดนั้นก็คือ คำว่า ยอด เป็นของสูงโดยลักษณะอย่างหนึ่ง เช่นยอดเนื่องด้วยการบริจาคก็เรียกว่า ทานมัยกุศล บุญซึ่งเนื่องด้วยการสำรวมกายวาจาให้เป็นปกติเรียกว่า สีลมัยกุศล และบุญซึ่งเนื่องด้วยการบำเพ็ญจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดก็เรียกว่า ภาวนามัยกุศล ฉะนั้น การภาวนาจึงเป็นยอดของกุศลทั้งสามนี้ และมีคุณภาพสูง คือสามารถที่จะดึงดูดบุญกุศลน้อยใหญ่ ให้เข้ามารวมอยู่ในดวงจิตของเราได้ ๙.เมื่อดวงจิตของเราสงบ บุญต่างๆ ก็จะไหลเข้ามารวมอยู่ในดวงจิตของเรา คือความดีแล้วความดีในดวงจิตนั้นก็จะขยายตัวออกมาครอบทางกาย กายของเราก็จะหมดจากบาป ออกมาครอบทางวาจา ปากของเราก็จะหมดจากบาป ทางกายกรรมคือตาที่เราเคยสร้างบาปมา ทางหูที่เราเคยสร้างบาปมา และมือที่เราเคยสร้างบาปมา ความดีที่เกิดจากการภาวนานี้มันจะขยายมาล้างตา มาชำระหู มาล้างมือ กายที่บาปด้วยสัมผัส บุญก็จะขยายมาล้าง ทีนี้กาย วาจา ตา หู จมูก ปาก และส่วนอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายของเราก็จะเป็นของสะอาดหมด ๑๐ เมื่อเราได้ของสะอาดมากำกับตัวเราเช่นนี้ ก็เรียกว่า คุณภาพสูง เหมือนน้ำสูงที่ตกลงมาแต่อากาศย่อมกระจายไปทั่ว ยิ่งสูงเท่าไรก็ยิ่งกระจายออกไปมากเท่านั้น ดวงจิตของเราถ้าสูงด้วยคุณธรรม ความดีทั้งหลายก็ย่อมกระจายไปตามตา หู จมูก ลิ้น กาย กระจายไปตาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส กระจายไปทางอดีต ทางอนาคต ความดีนั้นก็จะขยายให้เย็นทั่วไปในโลกโลกีย์เป็นลำดับ ในการภาวนาจึงมีอานิสงส์โดยสั้นๆ อย่างนี้ ๑๑.บุญ ซึ่งเป็นของสูงโดยคุณภาพนั้น เปรียบเหมือนน้ำฝนซึ่งตกลงมาแต่เบื้องบนอากาศ ย่อมจะเป็นเครื่องชำระล้างสิ่งโสโครกทั้งหลายในพื้นแผ่นดินได้อย่างหนึ่ง และช่วยบำรุงหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ให้มนุษย์ได้พึ่งพาอาศัยอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นยังทำให้คนได้รับความเย็นชื่นเบิกบานใจด้วย พระพุทธเจ้านั้นท่านได้ทรงโปรยความดีของท่านมาตั้งแต่วันแรกที่ทรงตรัสรู้ตลอดมาจนกระทั่งสองพันห้าร้อยปีล่วงแล้ว ท่านก็ยังทรงโปรยอยู่ ดังที่เราได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันมาทุกวันนี้ พระพุทธเจ้าทรงเป็น มหาบุรุษ เป็นบุคคลสูงก็เพราะพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญความดีส่วนสูงส่วนยอดอันนี้ ๑๒.การภาวนานี้ถ้าจะพูดอย่างกำปั้นทุบดินแล้ว ก็เป็น บุญ ไปทั้งนั้น แม้จะทำได้มากหรือน้อย หรือไม่ได้อะไรเลยก็เป็นบุญอยู่ในตัว คือเปราะที่ ๑.ระลึกได้เสมอเพียงแค่ พุทโธๆ เท่านี้ก็เป็นบุญส่วนหนึ่งแล้ว เปราะที่ ๒.มีสติอยู่กับลมหายใจอย่างเดียวก็ได้บุญ และเปราะที่ ๓.ทำใจนิ่งเฉยๆ รู้แต่ลมหายใจก็เป็นบุญอีก ฉะนั้น จึงเป็นของที่ควรจะพากันทำอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยเวลาและโอกาสให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์.....ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
พระแก้วมรกต พระอาจารย์อุ่น อุตตโม
พระพุทธเจ้า 2/2
พระพุทธเจ้า 1/2
พระพุทธเจ้า 1/2
ที่อุบัติขึ้นมาในโลกมนุษย์ใบหนึ่ง... ที่มีทั้งโลกในอดีต... และโลกปัจจุบัน... มีทั้งหมด ๒๘ พระองค์ และมีพระพุทธเจ้า... องค์ปัจจุบันคือ พระโคตมะ... ส่วนพระพุทธเจ้าองค์ที่จะอุบัติมาเกิดในโลกมนุษย์... ในอนาคตคือ... พระศรีอาริยเมตไตรย... หรือพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒๙ นั่นเอง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทั้งในอดีต... และปัจจุบันรวมทั้งที่จะอุบัติขึ้นมาในอนาคต... พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต่างก็ตรัสรู้ในกฎเดียวกัน... คือกฎความจริงของโลกและชีวิต... หรือกฎของอริยสัจหรืออริยสัจ ๔ หมายถึง... พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องทุกข์กับการดับทุกข์เท่านั้น... อริยสัจ ๔ ประกอบด้วยความจริง ๔ อย่าง ดังนี้... ๑. ทุกข์ = ทุกข์ ๒. สมุทัย = เหตุของทุกข์ ๓. นิโรธ = ความดับทุกข์ ๔. มรรค = หนทางแห่งการดับทุกข์ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เป็นสพพัญญู (ผู้รู้)... และเป็นโลกวิทูคือ ทรงรู้จริง... รู้แจ้ง... ของโลกและชีวิตทั้งโลกภายในและโลกภายนอก หมายถึง รู้แจ้งสภาวะแห่งโลก... รวมทั้งรู้เรื่องในสังขาร... ทั้งหลายและอัธยาศัยสันดานของสัตว์โลก... ที่เป็นไปต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย... หลังจากพระพุทธเจ้าโคตมะ... ตรัสรู้ได้เป็น... พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ... ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ที่เราเรียกว่า วันวิสาขบูชา จากนั้นพระพุทธเจ้าได้นำเอาคำสอน... ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาสอนคน... ให้มีดวงตาเห็นธรรมให้ดับทุกข์ได้... ซึ่งมีทั้งคนธรรมดาทั่วไปและมีทั้ง... เจ้าฟ้า... เจ้าแผ่นดินมากมาย ในสมัยของพระพุทธเจ้ามีคนได้ฟังธรรมจาก... พระพุทธเจ้าแล้วสามารถบรรลุธรรมได้มากมาย และมีการบรรลุธรรมกันอย่างง่ายๆ ไม่เหมือนสมัยนี้ เช่น พระพุทธเจ้าแสดงธรรมครั้งแรกหลังจากบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าแล้วคือ...การแสดงธรรมให้กับ ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ คือ ธรรมจักรกับปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนาธรรมดังนี้ พระพุทธเจ้าทรงชี้ทางที่ผิดให้ปัญจวัคคีย์ หรือนักบวชว่าไม่ควรประพฤติปฏิบัติอยู่ ๒ ทางคือ... ๑. การประกอบตนให้พันพัวด้วยสุขในกาม คือ ความอยากในกามใคร่ และความอยากในกามวัตถุ ๒. การประกอบทรมานตนให้ลำบากเปล่า จากนั้นพระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมที่บรรพชิตควรปฏิบัติ คือ ทางสายกลางเรียกว่า... มัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยมรรคประกอบด้วยด้วยมีองค์ ๘ เป็นทางที่จะนำไปสู่ปัญญามีความรู้ยิ่งและเพื่อความดับทุกข์ ให้รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์กับการดับทุกข์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา โกณฑัญญะ ได้มีดวงตาเห็นธรรม ถึงกับร้องอุทานออกมาว่า... รู้แล้ว... รู้แล้ว... รู้แล้ว... พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า... โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ... โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ... หมายความว่าโกณฑัญญะได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านี้ก็สามารถบรรลุเป็นอริยะบุคคล คือ ได้เป็นโสดาบันบุคคลนั่นเอง หลังจากโกณฑัญญะได้มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงขอบวชเป็นพระสาวกองค์แรก ของพระพุทธเจ้า ต่อมา... วัปปะ... ภัททิยะ... มหานามาะ... อัสสชิ... ได้มีดวงตาเห็นธรรมตามลำดับก็ขอบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ หลังจากปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้บวชแล้ว พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมอนันตลักขณสูตรให้ฟังต่อ คือ ให้รู้จักขันธ์ ๕ คือ... รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ... ว่ามันไม่ใช่ของเรา ถ้ามันเป็นของเราจริงเราก็สามารถบังคับมันได้หรือสั่งมันได้ จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสถาม... แล้วให้ปัญจวัคคีย์ตอบว่าดังนี้... ขันธ์ ๕ มีรูป (ร่างกาย) แล้วรูปเป็นของเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง = ตอบ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ มีเวทนา (ความรู้สึก) แล้วเวทนาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง = ตอบ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ มีสัญญา (ความจำ) แล้วสัญญาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง = ตอบ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ มีสังขาร (ความคิด) สังขารเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง = ตอบ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ มีวิญญาณ (ความรู้) วิญญาณเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง = ตอบ ไม่เที่ยง แล้วสิ่งที่ไม่เที่ยงเหล่านั้นเป็นทุกข์ หรือ เป็นสุข = ตอบ เป็นทุกข์ แล้วสิ่งใดที่ไม่เที่ยงเหล่านั้นมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือไม่ควรที่จะตามยึดมั่นว่านั้นเป็นของเรา = ตอบ ไม่ควร จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสสรุปว่า... เมื่อเราเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า... รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ... และการกระทบสัมผัสทางตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... หรือ... พิจารณาภาวนาขันธ์ ๕... และอินทรีย์ ๖... เป็นของไม่เที่ยง... มีเกิด... มีดับ...เป็นธรรมดา
ความมุ่งหมายของพุทธศาสนา ของผม
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล สอนไว้
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (บาลี)
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (บาลี)
เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตฺระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ เทฺวเม (อ่านว่า ทเว-เม) ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโตเอ เต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติกะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติอะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิอะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติอิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะ โทมะนัสสุปายา สาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาอิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตฺระตัตฺราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหาอิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโยอิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจังอะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิอิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิอิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิอิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิอิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิเนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปาชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิงยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิอะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิงญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติอิทะมะโวจะ ภะคะวา อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง อิมัสฺมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสฺมิง ภัญญะมาเน อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเนมิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิวา โลกัสฺมินติภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวาจาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวาตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวายามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวาตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวานิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวาปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวาพฺรัหฺมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พฺรัหฺมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวาพฺรัหฺมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พฺรัหฺมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวามะหาพฺรัหฺมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพฺรัหฺมานัง เทวานัง สัททัง สุตวาปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวาอัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวาอาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวาปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวาอัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวาสุภะกิณฺหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุภะกิณฺหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวาเวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวาอะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวาอะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวาสุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวาสุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวาอะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯเอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเนมิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสฺมินติอิติหะเตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พฺรัหฺมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวังอะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติอิติหิทัง อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตฺววะ(อ่านว่า ตเว-วะ)นามัง อะโหสีติ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร(แปล ฉบับสมบูรณ์)