วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

..... มรรคผลแบบเซน ........ .

A :  ขั้นตอนการบรรลุธรรมแบบเซน เริ่มต้นจากพระโสดาบันไหมคับ .

B : การนับจำนวนนั้น เริ่มต้นจากหนึ่ง การตรึกตรอง สิ้นสุดที่ความตอบ .

การเห็นจิตปกติ ชื่อว่าเห็นต้นทาง การไม่หวั่นไหว คือการเดินตรงไป .

มือที่จับสิ่งใดแล้ว ย่อมต้องวางลง ใจที่ไม่ลูบคลำสิ่งใด จึงพบตนเอง .

จงปล่อยวางจากทุกสิ่งที่จิตได้เห็น เป็นอิสระจากประสบการณ์ทุกขณะ .

มรรคผลอาจแยกแยะเป็นลำดับขั้น แต่สัจจธรรมนั้น ไม่เคยเป็นสองสิ่ง . .

26/11/2015 สวนศรีอริยทรัพย์
ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ลำดับของเนื้อคู่ที่จะมาเป็นคู่ครองกัน

ลำดับของเนื้อคู่ที่จะมาเป็นคู่ครองกัน ลำดับของเนื้อคู่ที่จะมาเป็นคู่ครองกัน ก่อนอื่น เรามาทำเข้าใจกันก่อนว่า คู่ครอง นั้นหมายถึง เนื้อคู่ที่ในชาตินี้ได้มาอยู่ร่วมกันอีกตามแรงปรารถนาที่มีต่อกัน และมีกามราคะเข้ามาเกี่ยวข้อง ถึงจะมาครองคู่กันได้ แม้ว่าจะเป็นเนื้อคู่ลำดับที่เท่าไรก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรรมจัดสรร หลายคนคงงงๆ ว่าหมายถึงอะไร เนื้อคู่นั้นมีลำดับด้วยหรือ จะขออนุญาตมาอธิบายให้ทุกท่านฟังครับ อย่างที่บอกมาแล้วว่า เนื้อคู่ของเราทุกคนนั้นมีมากมายเหลือคณานับ และมีกรรมเป็นผู้จัดลำดับไว้อย่างเที่งธรรมมาก ถ้าคนที่เราได้มาเป็นคู่ครองของเราในชาตินี้นั้นเป็นเนื้อคู่อยู่ในลำดับต้นๆ ก็น่าจะเป็นการดีอย่างยิ่ง เพราะจะมีความสุขมาก แต่ถ้าไม่ใช่แล้วจะเป็นอย่างไร สมมติว่ามีผู้ชายคนหนึ่ง เกิดมาในชาติแรกเป็นคนในสมัยอยุธยาตอนต้น ในชาตินี้ก็ชอบพอผู้หญิงอยู่คนหนึ่ง ตบแต่งเป็นผัวเมียกัน ต่อมาอยู่กันสัก ๑๐ ปี เมียคนนี้ก็ตายจากไป แต่ในระหว่างมีชีวิตอยู่ก็ได้ทำบุญกุศลร่วมกันมาตลอด และตั้งสัจจอธิษฐานว่า ชาติหน้าฉันใดก็ขอเกิดมาเป็นสามีภรรยากันอีก อันนี้จบเรื่องเมียคนแรกไปแล้วนะ หลังจากนั้นชายคนนี้ก็มีเมียใหม่อีก ๓ คนในเวลาต่อมา มีทีละคนนะ ไม่ใช่มีทีเดียว ๓ คน และก็ไม่รู้เป็นอะไรเมียก็ต้องมาตายจากไปหมด ทุกคนตอนที่อยู่เป็นคู่ครองกันก็เหมือนคนแรก คือ ได้ไปวัดไปวา แจกทาน สร้างโบสถ์ สร้างวิหารร่วมกันแล้วก็อธิษฐานเหมือนๆ กันว่า จะกี่ชาติก็จะขอตามมาเป็นเมียอีก สรุปแล้วชายคนนี้มีเมียทั้งหมด ๔ คน มี ๔ แรงแห่งการปรารถนา และแรงอธิษฐาน ภพชาติต่อมา ผู้ชายคนนี้ก็กลับมาเกิดใหม่ หลังจากไปเสวยสุขในผลบุญและชดใช้กรรมที่ทำมาทั้งหมดแล้ว บุญยังมีมากพอก็ถูกส่งมาเกิดใหม่เป็นคนอีกครั้งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ส่วนเมียคนแรกนั้น เป็นเนื้อคู่และคู่ครองคนแรก ใช่ไหม เขาถือคิวเบอร์หนึ่งเป็นเนื้อคู่ลำดับแรกอยู่ เขาก็ต้องได้รับคิวตามที่เขาอธิษฐานเอาไว้ถ้าเขามีบุญร่วมกันพอนะ เขาได้เป็นเบอร์หนึ่งชัวร์ๆ เขาก็มาเกิดอีกเหมือนกัน เมียคนที่ ๒ คนที่ ๓ คนที่ ๔ เขาก็มาเกิดใหม่เหมือนกัน แต่เพราะวิบากกรรมที่เคยทำไว้ในชาติก่อน เอาเป็นว่าคนที่ ๒ ได้เกิดมาเป็นผู้ชาย แต่คนที่ ๓ และ ๔ ได้เกิดมาเป็นผู้หญิง ถึงตอนนี้พอจะมองออกไหมครับว่า คิวที่สอง หรือเมียคนที่สองเดิมนั้น ชาติต่อมาเขาได้เป็นผู้ชาย คิวเดิมอันดับสองที่เขาถือจึงยังใช้ไม่ได้ในชาตินี้ ก็กลับไปถือคิวจ่อคั่วไว้ในชาติต่อไปซึ่งก็ยังไม่รู้ชาติไหน เพราะต้องชดใช้กรรมให้หมดเสียก่อน ทั้งของเดิม และอาจจะไปสร้างกรรมใหม่ที่ส่งผลเร็วขึ้นมาอีก ส่วนคนที่ ๓ และคนที่ ๔ ตอนนี้อันดับมันสลับกันไปแล้ว และในชาตินี้เมียคนแรกเขาก็ยังไม่หมดอายุขัย แต่ตัวเมียคนที่ ๓ และคนที่ ๔ ดันไปเจอกับวิบากกรรมเข้าไปอีก ชาตินี้ก็ยังไม่มีโอกาสได้มาเป็นคู่ครองกับผัวคนเดิมอีก ไม่หน้ำซ้ำก็ไปสร้างกรรมใหม่ร่วมกับผู้ชายคนอื่นในระหว่างรอคิว คือ ได้ผัวคนใหม่เข้าไปอีก ตอนนี้คิวหรืออันดับเนื้อคู่ มันเริ่มมั่วแล้ว เพราะมีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ไม่ต้องเป็นห่วง กรรมนั้นได้จัดสรรไว้แล้ว ว่าเมื่อถึงคิว ถึงวาระก็ต้องได้กลับมาครองคู่กันอีก ซึ่งจะอีกกี่ชาตินั้น บอกตามตรงว่าตอบไม่ได้ ผมไม่มีความสามารถปานนั้น แต่ที่อธิบายได้เพราะมาจากที่ครูบาอาจารย์ท่านได้เคยสอนสั่งไว้ นี่แค่ยกตัวอย่าง เพียงภพชาติใกล้ๆ กัน เกี่ยวพันแค่สองชาติก็ลำดับเนื้อคู่ก็สลับกันแล้วเพราะกรรมลิขิต แต่ถ้าเอาสักแสนชาติที่ได้เกิดมาเป็นคนก็พอ ก็จะเห็นว่าเรียงลำดับกันนับกันไม่ถ้วนแน่ เพราะกรรมมันทับถมกันจนคนนั้นไม่มีวันจะเรียงลำดับได้หรอก และสมมติอีกว่า ถ้าไม่ได้เกิดเป็นคนละ ลำดับเนื้อคู่ก็ยิ่งเลื่อนไปกันใหญ่จริงไหม และมันก็ เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะเรื่องของกฎแห่งกรรมนั้นเป็นเรื่องจริง เมื่อคนเราหลังจากที่ตายไปแล้ว ในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านกล่าวไว้ว่าต้องไปเกิดทันที ส่วนจะเกิดเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับกรรมทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดีที่กระทำมา และการเกิดของสัตว์นั้นในพระพุทธศาสนานั้น กล่าวไว้มีอยู่ ๔ ประเภทคือ.. ๑. ไปเกิดในครรภ์แล้วคลอดออกมา ๒. ไปเกิดในไข่แล้วฟักออกมา ๓. ไปเกิดในเถ้าไคล (น้ำสกปรก ของเน่าเสีย) ๔. ไปเกิดเป็นโอปปาติกะ (พวกกายทิพย์ทั้งหลาย) เมื่อเรารู้แล้วว่า เมื่อตายลงไปต้องไปเกิดและในประเภทแรกนั้น นอกจากเป็นคนแล้วยัง มีสัตว์อีกหลายประเภท ในเรื่องนี้สมมติแค่ว่าเรามีบุญแล้วได้เกิดเป็นคน แต่เชื่อไหมว่าแม้ถึงจะได้เกิดเป็นคนแล้ว ก็ยังไม่รู้อีกว่าจะโตทัน มีอายุไปถึงที่จะได้มีคู่ครองอีกหรือไม่ เพราะในบางคนเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ไม่มีโอกาสได้เกิด ก็ต้องถูกทำแท้งเสียก่อน บางคนเกิดมา ๗ วันก็ตาย ๑๕ วันก็ตาย บางคนอายุยังไม่ถึง ๑๕ ปี ก็ตายซึ่งมีมากมาย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน ตายกันอายุยังน้อยทั้งสิ้น บางคนประสบอุบัติเหตุตาย บางคนป่วยตาย บางคนชดใช้ กรรมหมดแล้วก็ตาย บางคนผลบุญหมดก็ตาย พอตาย ก็ต้องไปเกิดใหม่ทันที เลยไม่ทันที่จะมีโอกาสมาเจอเนื้อคู่ของตัวเอง ประเภทพวกบุญน้อยหรือบุญมีแต่วิบากกรรมมันบัง เคยมีครูบาอาจารย์ที่มีอภิญญาจิตเล่าให้ฟังว่า คนที่เคยทำแท้งนั้น เมื่อตายไปแล้วต้องไปชดใช้กรรมหนักมากอยู่ในนรกนานแสนนาน ขึ้นจากนรกมาก็ต้องวนเวียนเกิดเป็นสัตว์ให้เขาฆ่าอีก ๕๐๐ ชาติ เพราะกรรมที่เกิดจากการฆ่าคนนั้นหนักสุดๆ มันเป็นกรรมที่ต้องส่งผลเร็ว ถึงจะมีการอโหสิกรรมแล้วก็ยังต้องได้รับเศษเวรเศษกรรมอีก บางคนต้องเกิดมาเป็นเด็กในท้องแม่เพียงไม่กี่วัน ไม่กี่เดือนก็ต้องถูกแม่ ซึ่งเป็นเจ้ากรรมนายเวรเก่าฆ่าให้ตายหรือทำแท้งให้ตาย เหมือนกับที่ตัวเองเคยทำไว้ สร้างกรรมกันไม่รู้จบสิ้น และยิ่งในกรณีคนที่ฆ่าตัวเองตายด้วย เป็นการตายที่เร็วกว่าอายุขัยจริง ก็ต้องเป็นวิญญาณเฝ้าอยู่ตรงนั้น ตรงที่ตัวเองตาย จนกว่าจะหมดอายุขัยของตัวเองจริง เช่น มีอยู่รายหนึ่งฆ่าตัวตายเพราะโกรธเมียและก็เมามากด้วย จึงยิงตัวตายแบบประชดเมีย อายุจริงๆ ที่ต้องสิ้นลมจากโลกนี้ไปนั้นถูกกำหนดไว้ที่ประมาณ ๘๐ ปี แต่ถูกกรรมตัดรอนฆ่าตัวตายเมื่อตอนอายุเพียง ๔๐ ปี เมื่อตายไปแล้วไปไหนไม่ได้ จึงต้องเฝ้าโยงอยู่ตรงนั้นอีก ๔๐ ปีที่เหลือ ต่อจากนั้นก็ต้องไปลงนรกชดใช้กรรมที่ทำมา เรื่องของเนื้อคู่นั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึงกันอีก กว่าตัวเองจะชดใช้กรรมหมด เนื้อคู่ของตนก็หมุนเวียนเปลี่ยนไป สลับอันดับกันไปไม่รู้ต่อกี่ชาติภพแล้ว มีความเชื่อกันว่า เนื้อคู่ในลำดับต้น ตั้งแต่ระดับที่ ๑ - ๕ นั้น ถ้าได้มาอยู่ด้วยกันอีกนั้น จะทำให้คนคู่นั้นมีความสุขมากกว่าความทุกข์ เป็นสุดยอดปรารถนาของคนทุกคน ขอฝากไว้สำหรับทุกๆ ท่านนะครับ ถ้าในเวลานี้มีโอกาสได้เจอเนื้อคู่ในลำดับต้นๆ แล้ว และสามารถอยู่ร่วมกันเป็นคู่ครองได้ในชาติภพนี้ ก็อยากจะแนะนำด้วยความปรารถนาดีว่า ในช่วงเวลาในชีวิตปัจจุบัน ก็ควรที่จะช่วยดูแลเกื้อกูลกันและกัน เรื่องต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตมันคือ วิบากกรรม มีการกระทบกระทั่งกัน หนักนิดเบาหน่อยก็ควรจะให้อภัยซึ่งกันและกัน หมั่นชวนกันไปทำบุญ ไปในทางที่ดี ชวนกันรักษาศีลให้มั่นคง อย่าไปออกนอกลู่นอกทาง ในชาติหน้าถ้าอยากจะได้มาเจอเป็นคู่ครองกันอีก ก็พยายามยับยั้งชั่งใจ อย่าไปทำกรรมไม่ดีขึ้นมา รักษาเนื้อรักษาตัวกันดีๆ เร่งสร้างบุญกุศลร่วมกัน และบุญเฉพาะตัว ก็อาจจะนำพามาพบกันอีกในทุกชาติภพได้ เพราะแรงของบุญเป็นผู้นำพามาให้เจอกันนั่นเองครับ "ขอให้ท่านทั้งหลายที่สนใจใฝ่ธรรม จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ทั้งในทางโลกและในทางธรรม โรคภัยไข้เจ็บไม่มาเบียดเบียน บุญรักษา ธรรมรักษา วาสนาดี มีลูกหลานกตัญญู ทุกคน ทุกท่านเทอญ...สาธุ สาธุ สาธุ" @......กรน์ษิวภัทธ์......@

.ท่านพ่อลี ธมฺมธโร สอนนั่งสมาธิ

.ท่านพ่อลี ธมฺมธโร สอนนั่งสมาธิ

    ..จะขอแนะนำหลักในการนั่งสมาธิ ของท่านผุ้ที่มาใหม่ยังไม่เคยทำ พอให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ ๑.ให้ตั้งใจว่าเรื่องราวอะไรทั้งหมด เราจะไม่เก็บมานึกคิด จะนึกถึงแต่พุทธคุณอย่างเดียว คือ พุทโธ ๒.ตั้งสติกำหนดนึกถึงลมหายใจเข้าว่า พุท ออกว่า โธ หรือจะนึก พุทโธๆ อยู่ที่ใจอย่างเดียวก็ได้ ๓.ทำจิตให้นิ่ง แล้วทิ้งคำภาวนา พุทโธ เสีย ให้สังเกตแต่ลมที่หายใจเข้าออกอย่างเดียว เหมือนกับเรายืนเฝ้าดูวัวของเราอยู่ที่หน้าประตูคอก ว่าวัวที่เดินเข้าไปและออกมานั้น มันเป็นวัวสีอะไร สีดำ แดง ขาว ด่าง วัวแก่หรือวัวหนุ่ม เป็นลูกวัวหรือวัวกลางๆ แต่อย่าไปเดินตามวัวเข้าไปด้วย เพราะมันจะเตะขาแข้งหักหรือขวิดเอาตาย ให้ยืนดูอยู่ตรงหน้าประตูแห่งเดียว หมายความว่า ใ้ห้จิตตั้งนิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ต้องเคลื่อนไหวไปกับลม ๔.ที่ว่าให้สังเกตลักษณะของวัวก็คือให้รู้จักสังเกตว่า ลมเข้าสั้นออกสั้นดี หรือลมเข้ายาวออกยาวดี ลมเข้ายาวออกสั้นดี หรือลมเข้าสั้นออกยาวดี ให้รู้ลักษณะของลมว่าอย่างไหนเป็นที่สบาย ก็ทำอย่างนั้นเรื่อยไป ๕.ต้องทำให้ได้อย่างนี้ทั้ง ๓ เปราะ คือ เปราะแรกภาวนา พุทโธๆ ตั้งใจนึกด้วยสติหรือด้วยใจ เปราะที่ ๒ ให้สติอยู่กับลมเข้า พุท ลมออก โธ ไม่ลืมไม่เผลอ และเปราะที่ ๓ จิตนิ่ง ทิ้ง พุทโธ เสีย สังเกตแต่ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ๖.เมื่อทำได้เช่นนี้ ใจของเราก็จะนิ่ง ลมก็นิ่งเหมือนขันน้ำที่ลอยอยู่ในโอ่ง น้ำก็นิ่ง ขันก็นิ่ง เพราะไม่มีใครไปกด ไปเอียง ไปกระแทกมัน ขันนั้นก็จะลอยเฉยเป็นปกติอยู่บนพื้นน้ำ เหมือนกับเราขึ้นไปนั่งอยู่บนยอดเขาสูงๆ หรือขึ้นไปลอยอยู่เหนือเมฆ ใจของเราก็จะได้รับแต่ความสุขเยือกเย็น นี้ท่านเรียกว่า มหากุศล คือเป็น ยอด แก่น หรือรากเง้า ของกุศลทั้งหลาย ๗.ที่ว่าเป็น รากเง้า ก็เพราะมันลึกและแน่น คือเป็นความดีส่วนลึกที่อยู่ในดวงจิตของเราซึ่องอยู่ตรงกลางตัว ที่ว่าเป็นแก่น ก็เพราะมันเป็นของมั่น แข็ง และเหนียว เหมือนกับแก่นไม้ซึ่งมีความเหนียวและมั่นคง มอดก็ไม่สามารถมาเจาไชให้ผุได้ ถึงมันจะมาแทะได้บ้่างก็เพียงแค่เปลือกนอกหรือกระพี้เท่านั้น คือนิวรณ์ทั้งหลายจะมารบกวนได้ก็เพียงแค่อายตนะภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่นรูปมากระทบตา มันก็อยู่แค่ตาไม่เข้าไปถึงใจ เสียงมากระทบหู มันก็อยู่แค่หูไม่เข้าถึงใจ กลิ่นมากระทบจมูก ก็อยู่แค่จมูก ไม่เข้าถึงใจ จึงเรียกความดีส่วนนี้ว่าเป็นแก่นบุญ เพราะความชั่วทั้งหลายไม่สามารถจะมาทำลายจิตใจที่มั่นคงนี้ให้เสียไปได้ง่ายๆ เหมือนไม้แก่นที่ตัวมอดไม่อาจกัดกินให้ผุได้ ฉันนั้น ๘.ที่ว่ายอดนั้นก็คือ คำว่า ยอด เป็นของสูงโดยลักษณะอย่างหนึ่ง เช่นยอดเนื่องด้วยการบริจาคก็เรียกว่า ทานมัยกุศล บุญซึ่งเนื่องด้วยการสำรวมกายวาจาให้เป็นปกติเรียกว่า สีลมัยกุศล และบุญซึ่งเนื่องด้วยการบำเพ็ญจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดก็เรียกว่า ภาวนามัยกุศล ฉะนั้น การภาวนาจึงเป็นยอดของกุศลทั้งสามนี้ และมีคุณภาพสูง คือสามารถที่จะดึงดูดบุญกุศลน้อยใหญ่ ให้เข้ามารวมอยู่ในดวงจิตของเราได้ ๙.เมื่อดวงจิตของเราสงบ บุญต่างๆ ก็จะไหลเข้ามารวมอยู่ในดวงจิตของเรา คือความดีแล้วความดีในดวงจิตนั้นก็จะขยายตัวออกมาครอบทางกาย กายของเราก็จะหมดจากบาป ออกมาครอบทางวาจา ปากของเราก็จะหมดจากบาป ทางกายกรรมคือตาที่เราเคยสร้างบาปมา ทางหูที่เราเคยสร้างบาปมา และมือที่เราเคยสร้างบาปมา ความดีที่เกิดจากการภาวนานี้มันจะขยายมาล้างตา มาชำระหู มาล้างมือ กายที่บาปด้วยสัมผัส บุญก็จะขยายมาล้าง ทีนี้กาย วาจา ตา หู จมูก ปาก และส่วนอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายของเราก็จะเป็นของสะอาดหมด ๑๐ เมื่อเราได้ของสะอาดมากำกับตัวเราเช่นนี้ ก็เรียกว่า คุณภาพสูง เหมือนน้ำสูงที่ตกลงมาแต่อากาศย่อมกระจายไปทั่ว ยิ่งสูงเท่าไรก็ยิ่งกระจายออกไปมากเท่านั้น ดวงจิตของเราถ้าสูงด้วยคุณธรรม ความดีทั้งหลายก็ย่อมกระจายไปตามตา หู จมูก ลิ้น กาย กระจายไปตาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส กระจายไปทางอดีต ทางอนาคต ความดีนั้นก็จะขยายให้เย็นทั่วไปในโลกโลกีย์เป็นลำดับ ในการภาวนาจึงมีอานิสงส์โดยสั้นๆ อย่างนี้ ๑๑.บุญ ซึ่งเป็นของสูงโดยคุณภาพนั้น เปรียบเหมือนน้ำฝนซึ่งตกลงมาแต่เบื้องบนอากาศ ย่อมจะเป็นเครื่องชำระล้างสิ่งโสโครกทั้งหลายในพื้นแผ่นดินได้อย่างหนึ่ง และช่วยบำรุงหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ให้มนุษย์ได้พึ่งพาอาศัยอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นยังทำให้คนได้รับความเย็นชื่นเบิกบานใจด้วย พระพุทธเจ้านั้นท่านได้ทรงโปรยความดีของท่านมาตั้งแต่วันแรกที่ทรงตรัสรู้ตลอดมาจนกระทั่งสองพันห้าร้อยปีล่วงแล้ว ท่านก็ยังทรงโปรยอยู่ ดังที่เราได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันมาทุกวันนี้ พระพุทธเจ้าทรงเป็น มหาบุรุษ เป็นบุคคลสูงก็เพราะพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญความดีส่วนสูงส่วนยอดอันนี้ ๑๒.การภาวนานี้ถ้าจะพูดอย่างกำปั้นทุบดินแล้ว ก็เป็น บุญ ไปทั้งนั้น แม้จะทำได้มากหรือน้อย หรือไม่ได้อะไรเลยก็เป็นบุญอยู่ในตัว คือเปราะที่ ๑.ระลึกได้เสมอเพียงแค่ พุทโธๆ เท่านี้ก็เป็นบุญส่วนหนึ่งแล้ว เปราะที่ ๒.มีสติอยู่กับลมหายใจอย่างเดียวก็ได้บุญ และเปราะที่ ๓.ทำใจนิ่งเฉยๆ รู้แต่ลมหายใจก็เป็นบุญอีก ฉะนั้น จึงเป็นของที่ควรจะพากันทำอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยเวลาและโอกาสให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์.....ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

พระแก้วมรกต พระอาจารย์อุ่น อุตตโม

พระแก้วมรกต พระอาจารย์อุ่น อุตตโม เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งท่านพระอาจารย์มั่นพักที่วัดป่าบ้านหนองผือ พระอุปัชฌาย์อุ่น (พระครูบริบาลสังฆกิจ (อุ่น อุตตโม) วัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร) ได้ไปกราบนมัสการฟังเทศน์ และได้นำรูปพระแก้วมรกตขนาด 20 นิ้ว เป็นภาพพิมพ์ใส่กรอบไปถวายท่านพระอาจารย์ แต่ดูท่านจะลืมทำความสะอาด เพราะมีฝุ่นจับอยู่ ท่านพระอาจารย์ก็น้อมรับด้วยความเคารพ หลังจากท่านอุปัชฌาย์อุ่นลาลงกุฏิไปแล้ว ท่านพระอาจารย์ได้ทำความสะอาด โดยนำผ้าสรงน้ำของท่านฯ มาเช็ดถู ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ-ภิเนษกรมณ์) เอาผ้าเช็ดพื้นเข้าไปช่วยทำความสะอาดด้วย เพราะเห็นว่าผ้ายังสะอาดอยู่ ท่านหันมาเห็นเข้า พูดว่า "อะไรกัน นั่นรูปพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังเอาผ้าเช็ดพื้นมาถูได้" ผู้เล่าสะดุ้งไปทั้งตัว เพราะความโง่เขลาปัญญาอ่อน ท่านฯ ก็เลยทำความสะอาดเอง เสร็จแล้วก็มีเพื่อนภิกษุทยอยกันขึ้นไป รวมทั้งท่านอาจารย์วิริยังค์ด้วย ท่านเลยเทศน์ถึงความมหัศจรรย์ของพระแก้วมรกต ท่านว่า "พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม" การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา เกิดกลียุคในประเทศนั้น และด้วยความรัก และท่านยังบอกอีกว่า วัดพระแก้วนี้เป็นวัดพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ พระสงฆ์อยู่ไม่ได้ เพราะพระสงฆ์มาจากตระกูลต่างๆ ทั้งหยาบทั้งละเอียด ไม่รู้พุทธอัธยาศัย พุทธธรรมเนียม เพราะพระพุทธเจ้าเป็นทั้งกษัตริย์ และผู้สุขุมาลชาติ เมื่อพระสงฆ์ไม่รู้พุทธธรรมเนียม ถ้าไปอยู่ก็มีแต่บาปกินหัว ผู้รู้ทั้งพุทธอัธยาศัยและพุทธธรรมเนียมแล้ว มีพระมหากษัตริย์องค์เดียวเท่านั้น ครั้งพุทธกาลก็มีพระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นทรงรู้ แต่จอมไทย คือ พระมหากษัตริย์ทรงรู้มาแล้ว ได้ทรงสร้างวัดถวายจำเพาะพระแก้วเท่านั้น พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร คือ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ต่างแต่วาสนาบารมีมากน้อยต่างกันเท่านั้น ท่านจึงทรงรู้พุทธอัธยาศัยเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า ผู้ใดย่างกรายเข้าสู่วัดพระแก้วเป็นบุญทุกขณะที่อยู่ในบริเวณวัด แม้แต่ชาวต่างชาติ มีโอกาสเข้าไปในบริเวณวัดพระแก้ว จะด้วยศรัทธาหรือไม่ก็ตาม ก็ได้เข้ามาสู่วงศ์พระพุทธศาสนาโดยปริยาย หรือจะบังเอิญก็แล้วแต่ สามารถเป็นนิสัยให้เข้ามาได้ ต่อไปจะสามารถมาเกิดเป็นคนไทย สืบต่อบุญบารมีสำเร็จมรรคผลได้ เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๑ จากหนังสือ "รำลึกวันวาน" หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ

พระพุทธเจ้า 2/2

พระพุทธเจ้า 2/2 เมื่อเห็นว่ามันไม่เที่ยงแล้วว่า มีเกิด... มีดับ... ย่อมเบื่อหน่ายในรูปในสัมผัส... เมื่อเบื่อหน่ายก็คลสยกำหนัด... เมื่อคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น... เมื่อหลุดพ้นแล้ว... ก็ไม่มีชาติ... ไม่มีภพอีกต่อไป จากนั้นปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้บรรลุอรหันต์ รวมกันทั้ง ๕ พระองค์ตามลำดับ ขอยกตัวอย่างอีกสูตรหนึ่ง ยสะ... เป็นบุตรเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตนเองเป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงหนีออกจากบ้าน ยสะ... เกิดความเบื่อหน่ายจึงเดินไปด้วยและพูดไปด้วยว่า...ที่นี่วุ่นวายหนอ... ที่นี่น่าเบื่อหนอ... ที่นี่วุ่นวายหนอ... ที่นี่น่าเบื่อหนอ เมื่อเดินทางไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่งพระพุทธเจ้าตรัสตอบ ยสะ ว่า...ที่นี่ไม่วุ่นวายหนอ... ที่นี่ไม่น่าเบื่อหนอ... มากับเราสิแล้วเราจะแสดงธรรมให้เธอฟัง หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ โปรด ยสะ มีความดังนี้... การยึดมั่นถือมั่นในตัวของตัว คือ ขันธ์ ๕ เช่นการติดในรูป... ติดในกาม... ติดในรูปสมบัติ... ทรัพย์สมบัติ... เป็นทุกข์ทั้งปวง ถ้าเธอออกบวชจะเกิดอนิสงค์ คือ ทุกข์ทั้งหลายนี้จะหมดไป ทุกข์อื่นจะไม่เกิดขึ้น จากนั้นพระพุทธเจ้าก็สอนการพิจารณาการสัมผัสที่...ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... หลังจากฟังการเทศนาธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ยสะ ก็มีดวงตาเห็นธรรม คือบรรลุเป็นโสดาบันบุคคล ต่อมาเศรษฐีผู้เป็นบิดาออกตามหา ยสะ พอมาพบรองเท้าก็จำได้ว่านี่คือรองเท้าของ ยสะ นี่ จึงเข้่าไปหาพระพุทธเจ้าแล้วถามพระพุทธเจ้าว่า... เรามาตามหาบุตรชื่อ ยสะ ไม่ทราบว่าท่านเห็นบุตรชายของข้าพเจ้าหรือไม่ พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบเศรษฐีว่า... ดูก่อนท่านเศรษฐีขอให้ท่านจงรับฟังการเทศนาธรรมจากเราก่อน... แล้วเราจะให้ท่านได้พบกับลูกชายของท่าน ความจริงแล้ว ยสะ ก็นั่งอยู่ใกล้ๆกับเศรษฐีนั่นเอง คือด้วยฤทธิ์ของพระพุทธเจ้าที่ยังไม่ให้ เศรษฐีได้พบกับลูกชายของตัวเองก็เพราะว่า... จะเป็นอุปสรรคแก่การบรรลุธรรม ของทั้งสองคน หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมให้กับเศรษฐี เหมือนกับการแสดงธรรมให้กับ ยสะ ในตอนแรก พอพระพุทธเจ้าแสดงธรรมจบแล้ว ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดาของ ยสะ ก็มีดวงตาเห็นธรรมได้เป็นโสดาบันบุคคล ส่วน ยสะ ก็ได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงให้กับบิดาของตัวเองเป็นครั้งที่สอง จึงบรรลุเป็นอรหันต์สาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้าในขณะนั้นเอง หลังจาก ยสะ ขอบวชเป็นพระมหาสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า ก็มีชื่อเต็มว่า... พระยสกุลบุตร มีพระสหายที่เป็นบุตรของเศรษฐีเหมือนกันมีอยู่ ๔ คน คือ... ๑. สุพาหุ... ๒. วัมละ... ๓. ปุณณชิ... ๔. ควัมปติ พอได้ทราบข่าวว่าพระยสกุลบุตรออกบวชจึงขอออกบวชตาม พอได้บวชแล้วพระพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาธรรมให้ฟังมีดังนี้... ท่านทั้งหลายเมื่อใดที่ท่านรู้จักอกุศลและรากเหง้าของอกุศล รู้จักชราและมรณะ รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ... รู้จักความดับแห่งชราและมรณะ... รู้จักทางที่ดับเหตุแห่งชราและมรณะ... รู้จักทุกข์... รู้จักเหตุที่ให้เกิดทุกข์... รู้จักทางที่จะปฏิบัติให้ดับทุกข์... ด้วยเหตุที่รู้เพียงเท่านี้ก็เรียกว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ พอพระสหายทั้ง ๔ ของพระยสะได้ฟังการเทศนาธรรมของพระพุทธเจ้าจบแล้ว ก็มีดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๔ พระองค์ อธิบายต่อเลยนะครับ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึง สัมมามรรคในองค์ ๘ หรือมรรคมีองค์ ๘ สัมมาทิฏฐิ คือเห็นชอบนั่นเอง การเห็นชอบคือ เห็นความจริงของโลกและชีวิตนั่นเอง การเห็นความจริงของโลกและชีวิตก็คือ เห็นความไม่เที่ยง... มีเกิด... มีดับ เห็นความไม่เที่ยง... มีเกิดมีดับของโลกก็คือ เห็นการสัมผัสของโลกทางตา... โลกทางหู... โลกทางจมูก... โลกทางลิ้น... โลกทางกาย... โลกทางใจ ว่าสัมผัสแล้วมันไม่เที่ยง... มีเกิด... มีดับ...เป็นธรรมดา ส่วนการเห็นความจริงของชีวิตก็คือ เห็นความไม่เที่ยง... มีเกิด... มีดับ ของขันธ์ ๕ หรือตัวเรา หรือชีวิตเรา ว่าตัวเรา... ชีวิตเรา... มันก็ไม่เที่ยง... มีเกิด... มีดับ... เหมือนกันเป็นธรรมดา ในตอนต้นทุกครั้งที่พระพุทธเจ้าจะสอนธรรม พระพุทธเจ้าจะสอนให้เรารู้จักตัวเราเองก่อนว่า ตัวเราเป็นใคร ตัวเราประกอบไปด้วยอะไร พอรู้จักตัวเราแล้ว พระพุทธเจ้าจะสอนเรื่องทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วจะดับมันได้อย่างไร การที่เราจะดับความทุกข์ได้ด้วย การเห็นสัมมาทิฏฐิในมรรค ๘ นั้น ต้องดับด้วยการพิจารณาขันธ์ ๕ และอินทรีย์ ๖ เท่านั้น ขออนุญาตเล่าเรื่องต่อเลยนะครับ ต่อมาหลังจากที่ พระยสะ และพระสหายทั้ง ๔ ได้บวชแล้ว พระยสะ ยังมีพระสหาย ที่อยู่ตามหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียงรวม ๕๐ คน พอได้ทราบข่าวว่า พระยสะ และพระสหายของ พระยสะ ทั้ง ๔ คน ออกบวช ก็เลยมาประชุมกันและมีความเห็นว่า ต้องมีอะไรดีแน่ๆ เลย เพราะว่าเหล่าบรรดาลูกเศรษฐีนั้น มีพรั่งพร้อมทุกอย่างเช่น มีทั้งปราสาท ๓ หลัง มีนางสนมเป็นร้อยๆ แต่ทำไมถึงออกบวช จากนั้นจึงพร้อมกันเดินทางไปหา พระยสะ พระยสะ จึงนำหนุ่มชนบททั้ง ๕๐ คน เข้าเฝ้าพระัพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมให้ฟังและพระสหายชนบททั้ง ๕๐ คน ขอบวชกับพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา พระพุทธเจ้าแสดงธรรมให้กับกลุ่มพระสหายชนบทว่า... ท่านทั้งหลายภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ถ้าเธอทั้งหลายได้ตั้งใจฟังว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นเมื่อเธอทั้งหลายตั้งใจฟังแล้ว ย่อมรู้ได้ด้วยปัญญา เมื่อรู้ได้ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมกำหนดได้ด้วยธรรมทั้งปวง ว่าพวกเธอได้เสวย เวทนา อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว สุขก็ดี... ทุกข์ก็ดี... ไม่สุขก็ดี... ไม่ทุกข์ก็ดี... เมื่อรู้เวทนาที่เกิดเธอย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยง... มีเกิด... มีดับ... ของเวทนาเหล่านั้นเป็นธรรมดา นั่นคือการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของเวทนาเหล่านั้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่เป็นนิจ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงย่อม... เบื่อหน่าย... เมื่อเบื่อหน่ายย่อมปล่อยวาง ย่อมพิจารณาเห็นความสละคืน คือไม่ยึดมั่น... ไม่ถือมั่น... ในเวทนาย่อมพิจารณาเห็นความดับของทุกข์ได้ หลังจากฟังธรรมของพระพุทธเจ้าจบแล้ว บรรดาเหล่าพระสหายชนบททั้ง ๕๐ องค์ ก็บรรลุอรหันต์ทั้ง ๕๐ องค์ จากนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่า บัดนี้... เธอทั้งหลายได้บรรลุธรรมอันประเสริฐแล้ว ให้เธอทั้งหลายออกไปเผยแพร่ประกาศพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่มหาชนต่อไป ตามสถานที่ต่างๆ แต่อย่าไปทางเดียวกันสองรูป แม้แต่ตถาคตเอง ก็จะเดินทางไปแสดงธรรมเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป ในสมัยพุทธกาล... การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์นั้น ดูช่างง่ายและเร็วมากเพียงพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมได้ไม่นานก็มีพระสาวกของพระพุทธเจ้า ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้หลายองค์คือ... ๑. กลุ่มปัญจวัคคีย์มี ๕ พระองค์ ๒. กลุ่มพระยสะและพระสหายมี ๕ พระองค์ ๓. กลุ่มพระสหายชนบทของพระยสะมี ๕๐ พระองค์ รวมแล้วก็ ๖๐ พระองค์ ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์สาวก ยิ่งไปกว่านั้น... ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาของพระพุทธเจ้า ได้ส่งทหาร ๑,๐๐๐ คน ให้ไปทรงทูลเชิญพระพุทธเจ้าเพื่อเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ แต่หลังจากส่งทหารไปครั้งแรก ๑,๐๐๐ คน ก็ไม่มีใครกลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์เลย ทหารทั้ง ๑,๐๐๐ คน พอได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้ฟังแล้ว ต่างก็มีดวงตาเห็นธรรมและขอบวชกับพระพุทธเจ้า จากนั้นไม่นานก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๑,๐๐๐ องค์ ต่อมาพระเจ้าสุทโธทนะได้ส่งทหารไปทรงทูลเชิญพระพุทธเจ้าอีก เพื่อให้เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์อีก ๑,๐๐๐ คน รวม ๒,๐๐๐ คน บรรดาทหารเหล่านั้นก็ไม่กลับมา พระเจ้าสุทโธทนะได้ส่งทหารไปครั้งที่ ๓ อีก ๑,๐๐๐ คน รวม ๓,๐๐๐ คน บรรดาทหารเหล่านั้นเมื่อได้เข้าเฝ้าและได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรม ต่างก็มี ดวงตาเห็นธรรมและขอบวชกับพระพุทธเจ้า จากนั้นก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด รวมสามครั้งเป็น ๓,๐๐๐ องค์ พระเจ้าสุทโธทนะได้ส่งทหารไปอีกเป็นครั้งที่ ๔ ที่ ๕... ที่ ๖ และ ๗ ๘ ๙... รวมแล้ว ๙ ครั้งเป็น ๙,๐๐๐ คน ต่างก็ไม่มีทหารคนไหนกลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์เลย ทหารที่พระเจ้าสุทโธทนะส่งไปทั้งหมดต่างก็ขอบวชกับพระพุทธเจ้าทั้งหมด รวม ๙,๐๐๐ คน และบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๙,๐๐๐ องค์ สุดท้าย... พระเจ้าสุทโธทนะจึงตัดสินพระทัยส่งนายอำมาตย์ชื่อ กาฬุทายี และเป็นพระสหายสนิทของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ไปทูลเชิญพระศาสดา เพื่อเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์... นายอำมาตย์ กาฬุทายี ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงราชคฤห์ แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนาจบ ได้บรรลุพระอรหัตตผล จึงขอบวชเป็นภิกษุ แล้วจึงทูลเชิญพระพุทธเจ้าพร้อมพระภิกษุสงฆ์ ๒๐,๐๐๐ กว่ารูป เสด็จยังกรุงกบิลพัสดุ์ การบรรลุธรรมของพระสาวกของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้แต่งตั้งให้ใครเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นพระสาวกของพระองค์เลย แต่คนที่จะบรรลุธรรมได้นั้นคือ... องค์ของพระสาวกเองที่ฝึกปฏิบัติเอาเอง ทั้งฝึกปฏิบัติในชาตินี้ และอาจจะฝึกมาตั้งแต่ในอดีตชาติปางก่อน ที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติมาแล้วรวม ๒๘ พระองค์ พอมาเกิดในชาตินี้ จึงง่ายต่อการปฏิบัติ หรือง่ายต่อการบรรลุธรรมนั้นเอง มีข้อสันนิษฐานอยู่ ๒ ข้อ ว่าทำไมจึงมีคนบรรลุธรรมกันง่ายและมากมายในสมัยพุทธกาลดังนี้... ข้อ ๑. คือ... เป็นเพราะพระสาวกของพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบุญ... กุศลมามากพอที่จะบรรลุธรรมได้อย่าง่ายดาย... ข้อ ๒. คือ... เป็นเพราะอานุภาพบุญบารมีขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า... ที่พระสาวกมีโอกาสได้เข้าฟังเทศนาธรรม... กับองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง... จึงทำให้... เหล่าพระสาวกสำเร็จธรรมได้ง่ายและมากขนาดนั้น หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานมาแล้วจนถึง... วันนี้นับเวลาได้ ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสอน ในสมัยพระพุทธกาลกับคำสอนของพระพุทธเจ้าในสมัยนี้ ที่พระสงฆ์ได้นำมาเผยแพร่ให้สาธุชนชาวพุทธได้ฟังและได้เอามาปฏิบัติกันนั้น ถูกต้องหรือครบถ้วน เหมือนสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน ไว้ในสมัยพุทธกาลหรือไม่ ข้อนี้น่าคิดและน่าศึกษาต่อเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในทุกวันนี้เราควรที่จะต้องใช่ สมาธิ สติ และก็ปัญญาให้มากครับ... "ขอให้ท่านที่สนใจใฝ่ธรรม จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ทั้งในทางโลกและในทางธรรม โรคภัยไข้เจ็บไม่มาเบียดเบียน บุญรักษา ธรรมรักษา วาสนาดี มีลูกหลานกตัญญู ทุกคน ทุกท่านเทอญ...สาธุ สาธุ สาธุ" @......กรน์ษิวภัทธ์......@

พระพุทธเจ้า 1/2

พระพุทธเจ้า 1/2

    ที่อุบัติขึ้นมาในโลกมนุษย์ใบหนึ่ง... ที่มีทั้งโลกในอดีต... และโลกปัจจุบัน... มีทั้งหมด ๒๘ พระองค์ และมีพระพุทธเจ้า... องค์ปัจจุบันคือ พระโคตมะ... ส่วนพระพุทธเจ้าองค์ที่จะอุบัติมาเกิดในโลกมนุษย์... ในอนาคตคือ... พระศรีอาริยเมตไตรย... หรือพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒๙ นั่นเอง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทั้งในอดีต... และปัจจุบันรวมทั้งที่จะอุบัติขึ้นมาในอนาคต... พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต่างก็ตรัสรู้ในกฎเดียวกัน... คือกฎความจริงของโลกและชีวิต... หรือกฎของอริยสัจหรืออริยสัจ ๔ หมายถึง... พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องทุกข์กับการดับทุกข์เท่านั้น... อริยสัจ ๔ ประกอบด้วยความจริง ๔ อย่าง ดังนี้... ๑. ทุกข์ = ทุกข์ ๒. สมุทัย = เหตุของทุกข์ ๓. นิโรธ = ความดับทุกข์ ๔. มรรค = หนทางแห่งการดับทุกข์ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เป็นสพพัญญู (ผู้รู้)... และเป็นโลกวิทูคือ ทรงรู้จริง... รู้แจ้ง... ของโลกและชีวิตทั้งโลกภายในและโลกภายนอก หมายถึง รู้แจ้งสภาวะแห่งโลก... รวมทั้งรู้เรื่องในสังขาร... ทั้งหลายและอัธยาศัยสันดานของสัตว์โลก... ที่เป็นไปต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย... หลังจากพระพุทธเจ้าโคตมะ... ตรัสรู้ได้เป็น... พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ... ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ที่เราเรียกว่า วันวิสาขบูชา จากนั้นพระพุทธเจ้าได้นำเอาคำสอน... ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาสอนคน... ให้มีดวงตาเห็นธรรมให้ดับทุกข์ได้... ซึ่งมีทั้งคนธรรมดาทั่วไปและมีทั้ง... เจ้าฟ้า... เจ้าแผ่นดินมากมาย ในสมัยของพระพุทธเจ้ามีคนได้ฟังธรรมจาก... พระพุทธเจ้าแล้วสามารถบรรลุธรรมได้มากมาย และมีการบรรลุธรรมกันอย่างง่ายๆ ไม่เหมือนสมัยนี้ เช่น พระพุทธเจ้าแสดงธรรมครั้งแรกหลังจากบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าแล้วคือ...การแสดงธรรมให้กับ ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ คือ ธรรมจักรกับปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนาธรรมดังนี้ พระพุทธเจ้าทรงชี้ทางที่ผิดให้ปัญจวัคคีย์ หรือนักบวชว่าไม่ควรประพฤติปฏิบัติอยู่ ๒ ทางคือ... ๑. การประกอบตนให้พันพัวด้วยสุขในกาม คือ ความอยากในกามใคร่ และความอยากในกามวัตถุ ๒. การประกอบทรมานตนให้ลำบากเปล่า จากนั้นพระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมที่บรรพชิตควรปฏิบัติ คือ ทางสายกลางเรียกว่า... มัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยมรรคประกอบด้วยด้วยมีองค์ ๘ เป็นทางที่จะนำไปสู่ปัญญามีความรู้ยิ่งและเพื่อความดับทุกข์ ให้รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์กับการดับทุกข์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา โกณฑัญญะ ได้มีดวงตาเห็นธรรม ถึงกับร้องอุทานออกมาว่า... รู้แล้ว... รู้แล้ว... รู้แล้ว... พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า... โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ... โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ... หมายความว่าโกณฑัญญะได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านี้ก็สามารถบรรลุเป็นอริยะบุคคล คือ ได้เป็นโสดาบันบุคคลนั่นเอง หลังจากโกณฑัญญะได้มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงขอบวชเป็นพระสาวกองค์แรก ของพระพุทธเจ้า ต่อมา... วัปปะ... ภัททิยะ... มหานามาะ... อัสสชิ... ได้มีดวงตาเห็นธรรมตามลำดับก็ขอบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ หลังจากปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้บวชแล้ว พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมอนันตลักขณสูตรให้ฟังต่อ คือ ให้รู้จักขันธ์ ๕ คือ... รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ... ว่ามันไม่ใช่ของเรา ถ้ามันเป็นของเราจริงเราก็สามารถบังคับมันได้หรือสั่งมันได้ จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสถาม... แล้วให้ปัญจวัคคีย์ตอบว่าดังนี้... ขันธ์ ๕ มีรูป (ร่างกาย) แล้วรูปเป็นของเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง = ตอบ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ มีเวทนา (ความรู้สึก) แล้วเวทนาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง = ตอบ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ มีสัญญา (ความจำ) แล้วสัญญาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง = ตอบ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ มีสังขาร (ความคิด) สังขารเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง = ตอบ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ มีวิญญาณ (ความรู้) วิญญาณเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง = ตอบ ไม่เที่ยง แล้วสิ่งที่ไม่เที่ยงเหล่านั้นเป็นทุกข์ หรือ เป็นสุข = ตอบ เป็นทุกข์ แล้วสิ่งใดที่ไม่เที่ยงเหล่านั้นมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือไม่ควรที่จะตามยึดมั่นว่านั้นเป็นของเรา = ตอบ ไม่ควร จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสสรุปว่า... เมื่อเราเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า... รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ... และการกระทบสัมผัสทางตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... หรือ... พิจารณาภาวนาขันธ์ ๕... และอินทรีย์ ๖... เป็นของไม่เที่ยง... มีเกิด... มีดับ...เป็นธรรมดา

ความมุ่งหมายของพุทธศาสนา ของผม

ความมุ่งหมายของพุทธศาสนา ของผม ความมุ่งหมายของพุทธศาสนานั้น มักจะถูกคนส่วนมากเข้า ใจไปเสียว่า มุ่งหมายจะนำคนไปเมืองสวรรค์ จึงได้มีการสอนกันเป็นอย่างมาก ว่า สวรรค์เป็นแดนที่คนควรไปให้ถึง สวรรค์เป็นแดนแห่งความสุขที่สุด เลยมีการชักชวนกัน ให้ปรารถนาสวรรค์ ปรารถนากามารมณ์ อันวิเศษในชาติหน้า คนทั้งหลายที่ไม่รู้ความจริง ก็หลงใหลสวรรค์ มุ่งกันแต่จะเอาสวรรค์ ซึ่งเป็นแดนที่ตนจะได้เสพย์กามารมณ์ ตามปรารถนา เป็นเมืองที่ตนจะหาความสำราญ ได้อย่างสุดเหวี่ยง แบบสวรรค์นิรันดร ของศาสนาอื่นๆ ที่เขาใช้สวรรค์ เป็นเครื่องล่อ ให้คนทำความดี คนจึงไม่สนใจ ที่จะดับทุกข์ กันที่นี่ และเดี๋ยวนี้ ตามความมุ่งหมาย อันแท้จริง ของพุทธศาสนา นี่คือ อุปสรรค อันสำคัญ และเป็นข้อแรกที่สุด ที่ทำให้ คนเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาไม่ได้ เพราะไปมุ่งเอา ตัณหาอุปาทาน กันเสียหมด ฉะนั้น เราควรจะต้องสั่งสอนกันเสียใหม่ และพุทธบริษัท ควรจะเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า สวรรค์ดังที่กล่าวว่า เป็นเมืองที่จะต้องไปให้ถึงนั้น เป็นการกล่าวอย่างบุคคลาธิษฐาน คือ การกล่าว สิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็น รูปธรรม หรือเป็นวัตถุขึ้นมา การกล่าวเช่นนั้น เป็นการกล่าวในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อในเบื้องต้น ที่เหมาะสำหรับ บุคคลไม่ฉลาดทั่วไป ที่ยังไม่มีสติปัญญามากพอ ที่จะเข้าใจถึงความหมาย อันแท้จริงของพุทธศาสนาได้ แม้คำว่า "นิพพาน" ซึ่งหมายถึง การดับความทุกข์ ก็ยังกลายเป็นเมืองแก้ว หรือ นครแห่งความไม่ตาย มีลักษณะอย่างเดียวกันกับ เทียนไท้ หรือ สุขาวดี ของพวกอาซิ้มตามโรงเจทั่วไป สุขาวดี นั้น ตามความหมายอันแท้จริง ก็มิได้หมายความดังที่พวกอาซิ้มเข้าใจ เช่นเดียวกัน แต่มีความหมายถึง นิพพาน คือ ความว่างจากกิเลส สว่างจากทุกข์ มิได้หมายถึง บ้านเมืองอันสวยงาม ทางทิศตะวันตก ซึ่งมีพระพุทธเจ้า ชื่อ อมิตาภะ ประทับอยู่เป็นประธาน ที่ใครๆ ไปอยู่ที่นั่น แล้วก็ได้รับความพอใจทุกอย่าง ตามที่ตนหวัง เพราะว่าแวดล้อมไปด้วยสิ่งสวยงาม และรื่นรมย์ที่สุด ที่ มนุษย์ หรือ เทวดา จะมีได้ นี่เป็นการกล่าวอย่างบุคคลาธิษฐาน ทั้งสิ้น... ฉะนั้น เมื่อถามว่า พุทธศาสนา มีความมุ่งหมายอย่างไร ก็ควรจะตอบว่า มุ่งหมายจะแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน ของคนทุกคนในโลกนี้ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ โดยไม่มีความทุกข์เลย ให้อยู่ในกองทุกข์ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ หรือพูดโดยอุปมาก็ว่า อยู่ในโลกโดยไม่ถูกก้างของโลก หรือ อยู่ในโลก ท่ามกลางเตาหลอมเหล็กอันใหญ่ ที่กำลังลุกโชนอยู่ แต่กลับมีความรู้สึกเยือกเย็นที่สุดดังนี้ พุทธทาสภิกขุ

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล สอนไว้

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล สอนไว้ "หลักธรรมที่แท้จริงนั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่ง หลักธรรม เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียนจากตำรับตำรา หรือกับครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาก็ให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานั่นแหละ เมื่อจิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนา ให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (บาลี)

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (บาลี)

      เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตฺระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ เทฺวเม (อ่านว่า ทเว-เม) ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโตเอ เต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติกะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติอะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิอะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติอิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะ โทมะนัสสุปายา สาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาอิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตฺระตัตฺราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหาอิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโยอิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจังอะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิอิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิอิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิอิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิอิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิเนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปาชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิงยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิอะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิงญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติอิทะมะโวจะ ภะคะวา อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง อิมัสฺมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสฺมิง ภัญญะมาเน อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเนมิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิวา โลกัสฺมินติภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวาจาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวาตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวายามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวาตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวานิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวาปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวาพฺรัหฺมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พฺรัหฺมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวาพฺรัหฺมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พฺรัหฺมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวามะหาพฺรัหฺมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพฺรัหฺมานัง เทวานัง สัททัง สุตวาปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวาอัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวาอาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวาปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวาอัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวาสุภะกิณฺหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุภะกิณฺหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวาเวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวาอะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวาอะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวาสุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวาสุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวาอะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯเอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเนมิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสฺมินติอิติหะเตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พฺรัหฺมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวังอะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติอิติหิทัง อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตฺววะ(อ่านว่า ตเว-วะ)นามัง อะโหสีติ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร(แปล ฉบับสมบูรณ์)